กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3494
ชื่อเรื่อง: การกำกับดูแลสภาองค์การบริหารส่วนตำบลของนายอำเภอโดยการยุบสภา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: District chief officer's supervision of Sub-district administrative organization assembly (SAOA) by assembly dissolution
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ
ณัฏฐวัฒน์ วงศ์ใยมูล, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดการกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบลของนายอำเภอโดยการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (2) ปัญหาและเงื่อนไขที่นำมาสู่การยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (3) กลไก กระบวนการทางกฎหมายในการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และ (4) แนวทางในการกำหนดรูปแบบ การกำกับดูแลสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจกำกับดูแลสภาองค์การบริหารส่วนตำบลของนายอำเภอแล้ว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยวิธีการวิจัยทางเอกสาร (documentary research) ด้วยการค้นคว้าวารสารกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการกำกับดูแลสภาองค์การบริหารส่วนตำบลของนายอำเภอ โดยการยุบสภาที่พบเกิดจากที่พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ไม่ได้บัญญัติรายละเอียดหรือขอบเขตการใช้อำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 คือ (1) มาตรา 91 ให้อำนาจนายอำเภออาจเสนอให้ยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ ด้วยเหตุผลที่วางเป็นเกณฑ์กว้างๆ เพียงข้อเดียวว่าให้ยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้นายอำเภอใช้ดุลพินิจมากเกินไป (2) มาตรา 91 ไม่ได้บัญญัติขั้นตอน วิธีการ และระยะเวลาการพิจารณายุบสภาไว้ (3) มาตรา 91 บัญญัติกำหนดระยะเวลาให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายหลังการยุบสภาไม่สอดคล้องกับระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เสนอแนะว่า (1) เห็นควรให้บัญญัติเหตุแห่งการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ชัดเจน โดยให้ยุบสภาในกรณีเกิดความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภา กรณีที่สภาใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือกระทำการขัดต่อกฎหมาย (2) เห็นควรบัญญัติขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณายุบสภาที่ชัดเจน (3) เห็นควรแก้ไขระยะเวลาการจัดการเลือกตั้งใหม่ให้สอดคล้องกับกฎหมายการเลือกตั้ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3494
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons