Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3498
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลชัย รัตนสกาววงศ์th_TH
dc.contributor.authorณัฐกมล เอี่ยมโอภาส, 2517-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-25T07:47:14Z-
dc.date.available2023-02-25T07:47:14Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3498en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องใดที่ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รูปแบบและวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตลอดจนหลักการและวิธีการในการออกเสียงประชามติ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการออกเสียงประชามติและการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญของประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการออกเสียงประชามติของต่างประเทศ เปรียบเทียบกับการออกเสียงประชามติของประเทศไทย (4) เพื่อเสนอแนะรูปแบบและหลักการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่า เรื่องใดที่ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติ การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งจะค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูลทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จากตำรา เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลจากเว็บไซต์ ตลอดจนทําการศึกษาจากตัวบทและเจตนารมของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 และ มาตรา 165 ผลการศึกษา ได้แก่ (1) แนวคิดสำคัญ คือ ผู้มีอำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ใครหรือองค์กรใดจะเป็นผู้มีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ องค์กรผู้มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจใช้ านาจที่ได้รับมาเกินเลยไปถึงขนาดที่จะเปลี่ยนแปลงหรือล้มเลิกหลักการพื้นฐานอันเป็นสาระสําคัญของตัวบทบัญญัติทั้งหลายของรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญที่องค์กรผู้มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สามารถกระทําได้ จะต้องให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงทําการออกเสียงประชามติ เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความชอบธรรม (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีปัญหาในเรื่องความชอบธรรม เนื่องจากมีที่มาจากการรัฐประหาร ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับและต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้ให้อำนาจรัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรที่มีเพียงอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับได้ ประกอบกับรัฐธรรมนูญยังบัญญัติห้ามแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ อันเป็นสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น การจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องสาระสำคัญดังกล่าวจึงจะต้องกระทําด้วยการให้ประชาชนลงประชามติ แต่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยยังมิได้มีการบัญญัติในเรื่องการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยเฉพาะ จะมีก็แต่เพียงบทบัญญัติมาตรา 165 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติแบบกว้าง ๆ โดยให้อำนาจการตัดสินใจในการให้ประชาชนออกเสียงประชามติเป็นของคณะรัฐมนตรี เท่านั้น (3) การออกเสียงประชามติต่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของต่างประเทศมีรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การออกเสียงประชามติแบบบังคับ เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น แบบทางเลือก เช่น ประเทศฝรั่งเศส และแบบบังคับบางส่วนเฉพาะกรณี เช่น ประเทศสเปน (1) จากการศึกษาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า เรื่องสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับในกรณีที่แก้ไขในสาระสำคัญและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองและ/หรือรูปแบบของรัฐ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับหลักประชาธิปไตยที่สำคัญ ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (1) วรรคสอง โดยบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติแบบบังคับสำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มีความสําคัญข้างต้น สําหรับเรื่องอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนอกจากนี้กำหนดให้การออกเสียงประชามติเป็นแบบทางเลือกโดยให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้พิจารณาให้มีการออกเสียงประชามติตามความจำเป็นและเหมาะสมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการลงประชามติth_TH
dc.subjectการแก้ไขรัฐธรรมนูญth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องที่ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติth_TH
dc.title.alternativeIssues of constitution amendment to be submitted to referendumen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study are (1) to study the concept and theory of constitution, the content and model of constitution amendment including theory and principle of referendum; (2) to analyze the methods and the problems of referendum as well as constitution amendment of Thailand; (3) to study and analyze the models and the procedure of constitution amendment by referendum of foreign countries; and (4) to recommend the suitable issues of constitution amendment that should be submitted to referendum under the democracy's rules. The method of the study is a qualitative research that uses documentary research by analyzing the primary and secondary documents from textbooks, books, scholarly documents, research papers and others information from websites including content and spirit of laws concerning constitution amendment and referendum from the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 (2007), sections 291 and 165. Research findings are as follows. (1) The people who have constituent power will determine the people or organization who will exercise power to constitution amendment and the extent thereof. This people or organization shall not use exceeding power to change or destroy the important principle of constitution. Therefore, constitution amendment in main principle must be to do referendum for constitution legitimacy. (2) Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 (2007) has legitimacy problem because it came from coup d'etat. Moreover, there was no provision to allow parliament for revision the whole constitution while stated that a motion for amendment which has the effect of changing the democratic regime of government with the King as Head of State or changing the form of state shall be prohibited. In theory, the revision constitution and constitution amendment at main principle must be made by referendum of the people. Besides, section 165 of the constitution defined referendum only in broad term and depending on the cabinet decision. (3) The referendum of foreign countries regarding drafting of a constitution and constitution amendment may be considered into three models which are mandatory/compulsory referendum such as in Switzerland, Untied state of America and Japan, optional referendum as in France and mandatory referendum in conclusion, the important issues of constitution amendment that some specific subjects as in Spain. should be submitted to referendum are that the revision constitution at main principle and the constitution amendment that may change regime and/or form of state including democracy principle. Thus, the author recommended the amendment of section 291(1), paragraph two, of the constitution so that mandatory referendum must be made for that important issues as above mentioned while the other issues will be optional referendum by discretion of parliament or legislature according to the necessary and suitable causes.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons