กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3498
ชื่อเรื่อง: การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องที่ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Issues of constitution amendment to be submitted to referendum
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
ณัฐกมล เอี่ยมโอภาส, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การลงประชามติ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องใดที่ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รูปแบบและวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตลอดจนหลักการและวิธีการในการออกเสียงประชามติ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการออกเสียงประชามติและการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญของประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบและวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการออกเสียงประชามติของต่างประเทศ เปรียบเทียบกับการออกเสียงประชามติของประเทศไทย (4) เพื่อเสนอแนะรูปแบบและหลักการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่า เรื่องใดที่ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติ การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งจะค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูลทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จากตำรา เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย และข้อมูลจากเว็บไซต์ ตลอดจนทําการศึกษาจากตัวบทและเจตนารมของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 และ มาตรา 165 ผลการศึกษา ได้แก่ (1) แนวคิดสำคัญ คือ ผู้มีอำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ใครหรือองค์กรใดจะเป็นผู้มีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ องค์กรผู้มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจใช้ านาจที่ได้รับมาเกินเลยไปถึงขนาดที่จะเปลี่ยนแปลงหรือล้มเลิกหลักการพื้นฐานอันเป็นสาระสําคัญของตัวบทบัญญัติทั้งหลายของรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญที่องค์กรผู้มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สามารถกระทําได้ จะต้องให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงทําการออกเสียงประชามติ เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความชอบธรรม (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีปัญหาในเรื่องความชอบธรรม เนื่องจากมีที่มาจากการรัฐประหาร ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับและต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้ให้อำนาจรัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรที่มีเพียงอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับได้ ประกอบกับรัฐธรรมนูญยังบัญญัติห้ามแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ อันเป็นสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญอีกด้วย ดังนั้น การจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องสาระสำคัญดังกล่าวจึงจะต้องกระทําด้วยการให้ประชาชนลงประชามติ แต่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยยังมิได้มีการบัญญัติในเรื่องการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยเฉพาะ จะมีก็แต่เพียงบทบัญญัติมาตรา 165 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติแบบกว้าง ๆ โดยให้อำนาจการตัดสินใจในการให้ประชาชนออกเสียงประชามติเป็นของคณะรัฐมนตรี เท่านั้น (3) การออกเสียงประชามติต่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของต่างประเทศมีรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การออกเสียงประชามติแบบบังคับ เช่น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น แบบทางเลือก เช่น ประเทศฝรั่งเศส และแบบบังคับบางส่วนเฉพาะกรณี เช่น ประเทศสเปน (1) จากการศึกษาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า เรื่องสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับในกรณีที่แก้ไขในสาระสำคัญและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองและ/หรือรูปแบบของรัฐ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับหลักประชาธิปไตยที่สำคัญ ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (1) วรรคสอง โดยบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติแบบบังคับสำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มีความสําคัญข้างต้น สําหรับเรื่องอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนอกจากนี้กำหนดให้การออกเสียงประชามติเป็นแบบทางเลือกโดยให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้พิจารณาให้มีการออกเสียงประชามติตามความจำเป็นและเหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3498
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons