กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3500
ชื่อเรื่อง: | การอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Permission to use the land for other business that supports or relates to land reformation |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัลย์ หอนพรัตน์ ณัฏฐณิชา ส่งแสง, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การใช้ที่ดิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย กฎหมายที่ดิน การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีความเป็นมาของการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหลักการคุ้มครองความเชื่อ โดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองกฎหมายของต่างประเทศและของไทย การวิเคราะห์ปัญหากรณีอำนาจของคณะกรรมการฯ ในการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน (กิจการพลังงานลม) และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ งานวิจัย และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า การอนุญาตให้ใช้ที่ดินของ ส.ป.ก. เพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน ยังมีปัญหาการตีความตัวบทกฎหมายตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จากการอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่ากิจการดังกล่าว เป็นไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอันเป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร มิใช่กิจการที่เป็นการบริการหรือเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในด้านเศรษฐกิจและสังคมในเขตดำเนินการปฏิรูปที่ดิน จึงมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติคณะกรรมการที่อนุญาตให้ใช้ที่ดินกิจการดังกล่าว ซึ่งกรณีการเพิกถอนการอนุญาตนั้น ถือเป็นการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง ส.ป.ก. ในฐานะผู้ออกคำสั่งทางปกครองต้องคำนึงถึงหลักการคุ้มครองความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน เพื่อป้องกันความเสียหายและผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3500 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License