กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3501
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures’ coercition administrative of the administrative procedure act, B.E. 2539 (1996)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐชนนท์ โสสิงห์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
กฎหมายปกครอง--ไทย
การบังคับใช้กฎหมาย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิดพื้นฐานหลักการและทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการบังคับทางปกครอง ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการบังคับทางปกครองทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศึกษาสภาพปัญหาของการใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 วิเคราะห์สภาพปัญหาของการใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ที่เหมาะสมกับประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ หนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย ตลอดจนคำพิพากษาและคำสั่งศาลปกครองที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งศึกษากฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายไทย ผลการศึกษาพบว่า ถ้าประเทศไทย แก้ไขพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2439 ให้มีมาตรการบังคับทางปกครองเป็นการเฉพาะ โดยไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ จะทําให้การบังคับทางปกครองในการยึดและอายัดทรัพย์สินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ถ้าประเทศไทย แก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2542) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกสั่งทางปกครองสามารถออกคําสั่งบังคับทางปกครองในการยึด อายัดทรัพย์สิน หรือสั่งให้ชำระเงินได้เอง จะทำให้การบังคับทางปกครองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และถ้าประเทศไทยแก้ไขพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองที่ให้ชำระเงินสามารถกำหนดจํานวนค่าปรับได้สูงเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันจะทำให้การบังคับทางปกครอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3501
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons