Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3510
Title: การบังคับใช้บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
Other Titles: Law Enforcement concerning rights to protect constitution
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
ทศพร พิทักษ์รัตนพงศ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายรัฐธรรมนูญ--ไทย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การบังคับใช้บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ หลักการให้ประชาชนมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยตรงกรณีการใช้สิทธิและเสรีภาพอื่น ๆ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกฎหมาย และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการบัญญัติบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญของประเทศไทยและต่างประเทศ ตำรา บทความจากเอกสารต่าง ๆ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ มีความไม่ชัดเจนจนทําให้เกิดปัญหาในการ ความของศาลรัฐธรรมนูญ แม้ว่าต่อมาได้มีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ๒๕๕๕ ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ในมาตรา ๔๕ และมาตราดังกล่าวได้บัญญัติแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนในบทบัญญัติเดิมไว้แล้ว แต่ยังพบว่าบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติให้ครอบคลุมไปถึงกรณีที่บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีความไม่เหมาะสมในส่วนขององค์กรที่ทำหน้าที่กลั่นกรองเรื่องเบื้องต้นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดซึ่งอาจทําให้เกิดความสับสนในตัวองค์กรวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมและยังเป็นการสร้างภาระขั้นตอนให้แก่บุคคลผู้ใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญมากเกินไป ทำให้การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอจึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญดังกล่าวให้มีความเหมาะสมโดยบัญญัติให้ครอบคลุมถึงกรณีที่บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย และให้ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยสั่งการได้โดยตรง แล้วจึงบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3510
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons