กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3513
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมเล่านิทานโดยภาษาถิ่นล้านนาประกอบการเล่นนิ้วมือที่มีต่อการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านน้ำคา จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of storytelling activities in Lanna language with fingerplays on preschool children's small muscle control at Ban Numka School in Nan province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรี ผลโยธิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราภรณ์ คงศรีศักดิ์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณ
การเล่านิทาน -- การศึกษาและการสอน (อนุบาลศึกษา)
การศึกษาปฐมวัย -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาขั้นอนุบาล -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานโดยภาษาถิ่นล้านนา ประกอบการเล่นนิ้วมือ ประชากร คือ เด็กปฐมวัย ชายและหญิง อายุ 4 – 6 ปี จำนวน 20 คน กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลคละอายุ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนบ้านน้ำคา อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในช่วงเวลากิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการเล่นนิ้วมือ และแบบวัดการใช้กล้ามเนื้อเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับ การจัดกิจกรรมเล่านิทานโดยภาษาถิ่นล้านนาประกอบการเล่นนิ้วมือ สูงกว่าก่อนได้รับการจัด กิจกรรม และการสังเกตโดยภาพรวมพบว่า เด็กปฐมวัยมีการใช้มือ และนิ้วมืออย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์กับตา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3513
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_124245.pdfเอกสารฉบับเต็ม5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons