Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3533
Title: การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นิทานอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสาตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
Other Titles: Construction of an electronic book entitled the ASEAN fables for Prathom Suksa II students of Kasetsart University Demonstration School, Center of Educational Research and Development
Authors: วรรณา บัวเกิด, อาจารย์ที่ปรึกษา
วลีรัตน์ ปานเพียร, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
โรงเรียนประถมศึกษา -- การสอนด้วยสื่อ
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นิทานอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา และ (2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นิทานอาเซียนที่สร้างขึ้น ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นิทานอาเซียนที่สร้างขึ้น (2) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษามีดังนี้ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น เรื่อง นิทานอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน คำชี้แจงวิธีการเรียน นิทาน 10 เรื่อง แต่ละเรื่องมีกิจกรรมท้ายเรื่องและภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง และ (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นิทานอาเซียนโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และ (3) การประเมินความพึงพอใจจากนักเรียนมีค่าความพึงพอใจ อยู่ในระดับสูงมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3533
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159197.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons