Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3573
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสารภี ศรีงาม, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-03-01T03:19:24Z-
dc.date.available2023-03-01T03:19:24Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3573-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตยางพารา (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตยางพาราของเกษตรกร (5) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ประชากรคือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา กับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2558/2559 จำนวน 2,562 คน ใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 7 สุ่มตัวอย่างได้ 190 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.59 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.94 คน แรงงานเฉลี่ย 2.25 คน รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 97,671.98 บาทต่อปี นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 72,326.32 บาทต่อปี รายได้รวมเฉลี่ย 169,468.94 บาทต่อปี รายจ่ายรวมเฉลี่ย 82,547.37 บาทต่อปี หนี้สินรวมเฉลี่ย 208,340.74 บาทต่อปี มีพื้นที่ทำเกษตรเป็นของตนเอง เฉลี่ย 12.75 ไร่ ปลูกยางพาราเฉลี่ย 8.90 ไร่ อายุต้นยางพาราเฉลี่ย 7.74 ปี (2) พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบและเชิงเขา ใช้พันธุ์ RRIM 600 เตรียมดินโดยการไถพลิกดินและไถพรวนดิน ระยะปลูก 3 x 7 เมตร และ 4 x 6 เมตร ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตและปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กันรองก้นหลุมก่อนปลูก ไม่นิยมปลูกพืชร่วมพืชแซม ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ตัดแต่งกิ่งในช่วง 1 - 3 ปีแรก การระบาดโรคและแมลงระดับน้อย อายุเฉลี่ยของยางที่กรีดได้ 6.64 ปี ใช้ระบบการกรีดครึ่งต้นสองวันเว้นหนึ่งวัน ช่วงเวลา 02.00 - 06.00 น. ส่วนใหญ่ผลิตเป็นยางก้อนถ้วย มีผลผลิตเฉลี่ย 320.68 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้องการรวมกลุ่มผลิตและแปรรูปยางพาราขายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมในท้องถิ่น ผ่านการรวมกลุ่มมีการประมูลราคา และตรวจสอบราคาก่อนการขายได้รับเงินทันทีหลังจากการขายผลผลิต (3) มีปัญหาด้านราคาตกตํ่าและขาดแคลนนํ้าในฤดูแล้ง เสนอให้รัฐดูแลในเรื่องราคาหรือสนับสนุนปัจจัยการผลิตการประกันราคา และจัดอบรมที่เน้นการสาธิตและฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง (4) เกษตรกรต้องการได้รับความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพนํ้ายาง การแปรรูปผลผลิต ผ่านบุคคลจากภาครัฐสื่อสิ่งพิมพ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์และวิธีการส่งเสริมแบบฝึกปฏิบัติ และการสาธิต (5) บูรณาการร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเน้นวิธีการฝึกปฏิบัติจริง การสาธิตวิธี และการศึกษาดูงาน เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ในการปฏิบัติจริง และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ส่งเสริมกิจกรรมเสริมในสวนยางพาราเพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และถ่ายทอดความรู้โดยใช้แผ่นพับ คู่มือ โปสเตอร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และวิธีการฝึกปฏิบัติth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectยางพารา--ไทย--น่าน--การผลิต.th_TH
dc.titleการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตยางพาราของเกษตรกร ในอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่านth_TH
dc.title.alternativeThe extension and development of rubber production of farmers in MueangNan District, Nan Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)-
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) fundamental socio-economic conditions, (2) rubber production condition, (3) problems and suggestions, (4) extension needs for rubber production, and (5) extension and development guidelines for the rubber production of farmers in Mueang Nan district, Nan province. Research population was 2,562 farmers who registered as rubber growers with the department of agricultural extension in the year 2015/2016. By using simple random sampling method and Taro Yamane formula with the error value of 7%, 190 farmers were selected to be the sample group. Data was collected by conducting interview and was analyzed by computer program. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking. Findings from the study were shown as follows: (1) Most of the farmers were male and finished primary school. The average age was 52.59 years. The average number of family member was 3.94 persons, while the average labor was 2.25 persons. The average income from agricultural sector was 97,671.98 baht/year while the average income from non-agricultural sector was 72,326.32 baht/year. The average of total income was 169,468.94 baht/year. The average total expenditure was 82,547.37 baht/year. The average total debt was 208,340.74 baht/year. The average owned occupied area was 12.75 rai. The average area for planting rubber was 8.90 rai. The average age of rubber tree was 7.74 years. (2) Rubber plantation was on plain and foothill. RRIM 600 variety was planted. Soil preparation was done by turning over soil. Planting distance was: 3 x 7 m. and 4 x 6 m. Both rock phosphate and organic fertilizer were applied at the bottom of the planting hole prior to planting. They did not use intercropping. Organic and chemical fertilizers were applied. Pruning took place in the first 1-3 years. Disease outbreak and insects were found at low level. Tapping started at the average age of rubber tree, 6.64 years by tapping half of the tree for 2 days and stop for 1 day during 02.00-06.00 am. It was mostly produced in cup lump. The average yield was 320.68 kg/rai. They would like to form up production and rubber processing group, wishing to sell products to local collectors through forming the groups, bidding and have a price check before selling. Hopefully, they would receive money once the selling completed. (3) Problems encountered included rubber price and water in dry season. Therefore, it was suggested the government to in charge of price or support production factor, price guarantee, and training that places an emphasis on demonstration including onsite practice. (4) Farmers needed knowledge regarding improvement of latex, product processing by official staff, printed media, electronic media, extension methods in practice and demonstration. (5) Mutual integration between the extension officers in both government and private sectors in transferring technology which focus on real practice method, demonstration method, and field trip so that farmers could adopt them in their real life practice and sustainable development. Suggestions from the research included the extra activities extension in rubber plantation to help increase income for farmers and the transfer of knowledge would be done through pamphlets, manuals, poster, electronic media, and practiceen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons