กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3573
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตยางพาราของเกษตรกร ในอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The extension and development of rubber production of farmers in MueangNan District, Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สารภี ศรีงาม, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ยางพารา--ไทย--น่าน--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตยางพารา (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตยางพาราของเกษตรกร (5) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ประชากรคือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา กับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2558/2559 จำนวน 2,562 คน ใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 7 สุ่มตัวอย่างได้ 190 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.59 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.94 คน แรงงานเฉลี่ย 2.25 คน รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 97,671.98 บาทต่อปี นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 72,326.32 บาทต่อปี รายได้รวมเฉลี่ย 169,468.94 บาทต่อปี รายจ่ายรวมเฉลี่ย 82,547.37 บาทต่อปี หนี้สินรวมเฉลี่ย 208,340.74 บาทต่อปี มีพื้นที่ทำเกษตรเป็นของตนเอง เฉลี่ย 12.75 ไร่ ปลูกยางพาราเฉลี่ย 8.90 ไร่ อายุต้นยางพาราเฉลี่ย 7.74 ปี (2) พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบและเชิงเขา ใช้พันธุ์ RRIM 600 เตรียมดินโดยการไถพลิกดินและไถพรวนดิน ระยะปลูก 3 x 7 เมตร และ 4 x 6 เมตร ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตและปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กันรองก้นหลุมก่อนปลูก ไม่นิยมปลูกพืชร่วมพืชแซม ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ตัดแต่งกิ่งในช่วง 1 - 3 ปีแรก การระบาดโรคและแมลงระดับน้อย อายุเฉลี่ยของยางที่กรีดได้ 6.64 ปี ใช้ระบบการกรีดครึ่งต้นสองวันเว้นหนึ่งวัน ช่วงเวลา 02.00 - 06.00 น. ส่วนใหญ่ผลิตเป็นยางก้อนถ้วย มีผลผลิตเฉลี่ย 320.68 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้องการรวมกลุ่มผลิตและแปรรูปยางพาราขายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมในท้องถิ่น ผ่านการรวมกลุ่มมีการประมูลราคา และตรวจสอบราคาก่อนการขายได้รับเงินทันทีหลังจากการขายผลผลิต (3) มีปัญหาด้านราคาตกตํ่าและขาดแคลนนํ้าในฤดูแล้ง เสนอให้รัฐดูแลในเรื่องราคาหรือสนับสนุนปัจจัยการผลิตการประกันราคา และจัดอบรมที่เน้นการสาธิตและฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง (4) เกษตรกรต้องการได้รับความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพนํ้ายาง การแปรรูปผลผลิต ผ่านบุคคลจากภาครัฐสื่อสิ่งพิมพ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์และวิธีการส่งเสริมแบบฝึกปฏิบัติ และการสาธิต (5) บูรณาการร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเน้นวิธีการฝึกปฏิบัติจริง การสาธิตวิธี และการศึกษาดูงาน เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ในการปฏิบัติจริง และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ส่งเสริมกิจกรรมเสริมในสวนยางพาราเพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และถ่ายทอดความรู้โดยใช้แผ่นพับ คู่มือ โปสเตอร์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และวิธีการฝึกปฏิบัติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3573
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons