Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3584
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุธัญญา เจริญทรัพย์, 2534--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-03-01T05:43:21Z-
dc.date.available2023-03-01T05:43:21Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3584-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และระดับความรู้ที่ได้รับจากแหล่งความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมีของเกษตรกร 3) การยอมรับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมีของเกษตรกร 4) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมี ประชากรที่ศึกษาในการวิจัย คือ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ที่เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ในปี 2562-2563 จำนวน 180 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 125 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากตามรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 60.07 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 59.94 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีประสบการณ์ในการเกษตรเฉลี่ย 29.58 ปี มีแรงงานภายในครัวเรือน เฉลี่ย 1.84 คน รายได้รวมในภาคการเกษตรต่อปี เฉลี่ย 176,790.80 บาท มีขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 12.58 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกข้าว 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ในระดับมากที่สุด ได้รับความรู้จากสื่อแบบกลุ่มในระดับมาก จากสื่อบุคคลในระดับปานกลาง และจากสื่อมวลชนในระดับน้อย 3) เกษตรกรมีการยอมรับในเชิงความคิดเห็นด้านการผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์ในระดับมากที่สุด และส่วนใหญ่ยอมรับนำไปปฏิบัติ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเชิงความคิดเห็น (1) ด้านการผลิต ได้แก่ การเป็นสมาชิกกลุ่ม ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ การฝึกอบรม มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก และปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 ส่วน อายุ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (2) ด้านการใช้ชีวภัณฑ์ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเชิงปฏิบัติ (1) ด้านการผลิต ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ และการฝึกอบรม มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (2) ด้านการใช้ชีวภัณฑ์ ได้แก่ การฝึกอบรม และประสบการณ์ในการเกษตร มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 และ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ตามลำดับ ส่วน อายุ และปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 และ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ตามลำดับ 4) เกษตรกรมีปัญหามากที่สุด คือ ชีวภัณฑ์ที่เจริญพร้อมใช้แล้ว มีอายุการเก็บรักษาสั้น และเกษตรกรมีความต้องการเกี่ยวกับการใช้สารชีวภัณฑ์มากที่สุด คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนหัวเชื้อชีวภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง หรือจัดให้มีแหล่งจำหน่ายที่หาซื้อได้ง่ายth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสารเคมีทางการเกษตร--ไทย--เชียงใหม่th_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--เชียงใหม่th_TH
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeFactors related to the adoption of bio-products for reducing chemical substance application of farmers in Doi Saket District, Chiang Mai Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) social and economic factors of farmers 2) knowledge and level of knowledge from various sources regarding the usage of bio-products to reduce chemical substance application of farmers 3) the adoption and factors related to the adoption of bio-products to reduce chemical substance application of farmers 4) problems and needs of farmers about the usage of bio-products to reduce chemical substance application of farmers. The population in this study was 180 farmers in the area of Doi Saket district, Chiang Mai province who participated in the project related to bio products in year 2019-2020. The sample size of 125 people was determined by using Taro Yamane formula with an error value of 0.05 and selected by simple random sampling method by using farmers name lottery. Data were collected using interview and were analyzed using descriptive statistic and multiple regression analysis. The results of this research showed that 1) 60.07% of farmers were male with the average age of 59.94 years old. Most of them completed primary school education and were members of agricultural institutions. The farmers had the average experience in agriculture for 29.58 years. The average total income in the agricultural sector was at 176,790.80 Baht per year with the average size of farmland 12.58 Rai. Most of them grew rice. 2) Farmers had knowledge about the usage of bio-products at the highest level. They received the knowledge from personal media at the moderate level, from group media at the high level, and from mass media at the low level. 3) Farmers adopted in term of opinion at the highest level and most of them adopted and put into practice. Factors related to opinion in (1) production aspect adoption were group membership, the knowledge about the usage of bio products and training, which were positively related at the statistically significant level of 0.01. While the problem about of bio products usage and age were negatively related at the statistically significant level of 0.01 and 0.05, respectively. (2) In regard to the bio-products usage such as the knowledge about bio products usage, it showed a positive relationship at the statistically significant level of 0.05. Regarding the problem about of bio products usage, it was negatively related at the statistically significant level of 0.01. Factors related to the adoption into practice regarding (1) the production aspect included the knowledge about the usage of bio-products and training were positively related at the statistically significant level of 0.01. Regarding the problem about of bio products usage, it was negatively related at the statistically significant level of 0.05. (2) While the bio-products usage aspect such as training and the experience as a farmer were positively related at the statistically significant level of 0.01 and 0.05, respectively. Regarding the age and the problem about of bio products usage were negatively related at the statistically significant level of 0.01 and 0.05 respectively. 4) Farmers faced with the most problematic issue in the aspect of short life cycle of being ready to use bio-products and what they wanted the most was for related agencies to support the bio-products continuously or provide distribution sources from where farmers had easy accessen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons