Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3590
Title: การส่งเสริมการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร ในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Other Titles: Extension for the use of farmbook application of farmers in Wapi Pathum District, Maha Sarakham Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวกร แป้นบูชา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--มหาสารคาม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล 3) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2562 ในพื้นที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 23,112 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 205 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลากรายชื่อเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 60.5 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.71 ปี ร้อยละ 49.3 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 96.1 ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และร้อยละ 68.3 รับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพรองมีพื้นที่ถือครองในการทำการเกษตรเฉลี่ย 14.74 ไร่ มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรมาแล้วเฉลี่ย 6.14 ปี โดยร้อยละ 96.1 มีการเข้าร่วมโครงการของรัฐบาล และเข้าร่วมรับฟังประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรเฉลี่ย 4.17 ครั้ง เกษตรกรร้อยละ 83.4 มีสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตเป็นของตนเอง และรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรจากเกษตรตำบล และผู้นำท้องถิ่น ในระดับมากที่สุด 2) เกษตรกร ร้อยละ 69.8 มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในระดับมากที่สุด โดยประเด็นที่เกษตรกรยังไม่รู้มากที่สุดคือ ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือนจะมีตัวแทนมาขอปรับปรุงทะเบียนได้เพียง 1 คน 3) เกษตรกรเห็นด้วยกับการส่งเสริมการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรของตนเองในระบบสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นด้วยกับประเด็นด้านหลักเกณฑ์และเงื่อนไข และประโยชน์ที่ได้จากการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในระดับมากที่สุด 4) เกษตรกรพบปัญหาในการส่งเสริมใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรของตนเองในระบบสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรของตนเองในระบบสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นด้วยมากที่สุดในด้านหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ว่าควรกำหนดให้แจ้ง/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลได้ตลอดทั้งปี
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3590
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons