Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3625
Title: พฤติกรรมการบริโภคสุราของประชาชนและผลกระทบของการขึ้นภาษีสรรพสามิตสุราในด้านปริมาณการผลิตสุรากลั่นชุมชน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่
Other Titles: Alcohol consumption behaviors among people and alcohol tax increment impact on production volumes of community distilled liquor in Sa-iab sub-district, Song District, Phrae Province
Authors: ธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชยา ขันทะรักษ์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--วิทยานิพนธ์
ภาษีสุรา--ไทย--แพร่
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้ ทัศนคติในเรื่องภาษีสรรพสามิตและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุราของประชาชน 2) พฤติกรรมการบริโภคสุราของประชาชน 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคสุราของประชาชน 4) ความสัมพันธ์ของลักษณะโรงงานสุรากลั่นชุมชน ทัศนคติต่อการขึ้นภาษีสุราของผู้ประกอบการโรงงานสุรากลั่นชุมชนต่อปริมาณการผลิตสุราของโรงงานสุรากลั่นชุมชน และ 5) ปริมาณการผลิตสุราของโรงงานสุรากลั่นชุมชน ทั้งก่อนและหลังการปรับขึ้นภาษีสุราของกรมสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) ประชาชน อายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 250 คน จากจานวนทั้งหมด 3,745 คน ในตาบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ใช้การสุ่มแบบเป็นระบบ และ 2) โรงงานสุรากลั่นชุมชน จานวน 110 โรง จากจำนวนโรงงานทั้งหมด 132 โรง ใช้การสุ่มแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลประชาชนด้วยแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคด้านความรู้ การรับรู้ และทัศนคติ เท่ากับ 0.81, 0.87 และ 0.88 ตามลำดับ และเก็บข้อมูลโรงงานด้วยแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ด้านทัศนคติ เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 40.84 ปี และมีบุคคลในครอบครัวดื่มสุรา ร้อยละ 83.20 มีความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องภาษีสรรพสามิตและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุราอยู่ในระดับต่ำและมีทัศนคติต่อเรื่องภาษีสรรพสามิตและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุราอยู่ในระดับดี 2) กลุ่มตัวอย่างมีการดื่มสุรา ร้อยละ 52.40 3) เพศ สถานภาพและการมีบุคคลดื่มสุราในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดื่มสุราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p–value < 0.05 4) จำนวนคนงาน เงินทุนหมุนเวียน ปริมาณการซื้ออากรแสตมป์ต่อเดือนและทัศนคติมีความสัมพันธ์กับปริมาณการผลิตสุราของโรงงานสุรากลั่นชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ p–value < 0.05 และ 5) ปริมาณการผลิตสุราหลังการปรับภาษีของกรมสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ต่ำกว่าปริมาณก่อนการปรับขึ้นภาษีสุราฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p–value < 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3625
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons