Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3629
Title: แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Guidelines for the Sub-district agricultural development plan of agricultural extensionist in Surat Thani Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พชระ รัตนทิฆัมพร, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
การพัฒนาการเกษตร--ไทย--สุราษฎร์ธานี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ และแหล่งความรู้ในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของเจ้าหน้าที่ 2) ความต้องการ และความคิดเห็นในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของเจ้าหน้าที่ 3) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล 4) ปัญหา ข้อเสนอแนะ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของเจ้าหน้าที่ ประชากรในการวิจัยมี 2 กลุ่มประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 103 คน ทำการเก็บข้อมูลทั้งหมดโดยใช้แบบสอบถามและผู้แทนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรอำเภอ รวม 16 คนเพื่อทำการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36.54 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 8.35 ปี มีประสบการณ์ทำงานกรมส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 5.09 ปี รับผิดชอบเฉลี่ย 9.83 หมู่บ้าน 1) ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร และเนื้อหาเล่มแผนพัฒนาการเกษตรอยู่ในระดับมาก แหล่งความรู้ในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรได้รับความรู้จากสื่อกลุ่มมากที่สุดรองลงมา คือ สื่อบุคคล 2) ความต้องการในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความต้องการ เรื่อง การนำแผนพัฒนาการเกษตรไปใช้ได้จริงมากที่สุด ความคิดเห็นในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความคิดเห็น เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรทำให้สามารถแก้ไขปัญหาการเกษตรได้ตรงกับความต้องการของเกษตรกรมากที่สุด 3) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร พบว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดมีส่วนร่วมมากที่สุดรองลงมา คือ ผู้นำชุมชน4) ปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรมีความยุ่งยากหลายขั้นตอน มีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการร่วมมือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำแผน จุดแข็ง คือ มีการจัดทำแผนเป็นประจำ ทุกปี จุดอ่อน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ขาดทักษะในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร เนื่องจากเพิ่งบรรจุราชการมีโอกาส คือ ได้รับการอบรมจากสำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นประจำทุกปี และอุปสรรค คือ ขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทางจัดทำแผน ได้แก่ ควรมีการเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นปัจจุบัน มีการร่วมมือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดทิศทาง/เป้าหมายให้ชัดเจนตรงกับความต้องการของชุมชน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3629
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons