Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/362
Title: | การพัฒนาแบบจำลองทิศทางการไหลของน้ำบนพิ้นผิวระดับสูงเชิงเลขสำหรับการพยากรณ์และการเตือนภัยน้ำท่วมจังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Model development in direction of water flow on the surface DEM for flood forecasting and early warning of Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | วิภา เจริญภัณฑารักษ์ เอกวุฒิ เพชรทองด้วง, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณทิตศึกษา ปานจิต มุสิก |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ แบบจำลองทางชลศาสตร์ พยากรณ์น้ำท่วม--ไทย--นครศรีธรรมราช |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาแบบจำลองทิศทางการไหลของน้้าบนพื้นผิวระดับสูงเชิงเลขสำหรับการพยากรณ์และการเตือนภัยน้้าท่วมจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบจำลองทิศทางการไหลของน้้าบนพื้นผิวระดับสูงเชิงเลข สำหรับการพยากรณ์และการเตือนภัยน้้าท่วมจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ประเมินแบบจำลองทิศทางการไหลของน้้าบนพื้นผิวระดับสูงเชิงเลขสำหรับการพยากรณ์และการเตือนภัยน้้าท่วมจังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาลักษณะการระบายน้้า การวิเคราะห์ทิศทางการไหล การวิเคราะห์การไหลสะสม และการวิเคราะห์ขอบเขตของลำน้้า พื้นที่ศึกษา คือ ลุ่มน้้าคลองกลาย คลองท่าทน และคลองสาขาย่อย ในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลา อำเภอนบพิต้า และ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยกฎการไหล 8 ทิศทาง (D8) กับกฎเซลลูลาร์ ออโตเมต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้อมูลแบบจำลองพื้นผิวระดับสูงเชิงเลข มาตราส่วน 1:50,000 ของ กรมแผนที่ทหาร โปรแกรมที่ใช้ ได้แก่ Mathematica และ ArcGIS 10.2 ประเมินผลแบบจำลอง โดยการเปรียบเทียบกับขอบเขตแหล่งน้้าจากฐานข้อมูล Google Map ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองทิศทางการไหลของน้้าบนพื้นผิวระดับสูงเชิงเลข พื้นที่ลุ่มน้้าคลองกลายและพื้นที่ลุ่มน้้าคลองท่าทนสอดคล้องกับความเป็นจริง ประเมินผลแบบจำลองทิศทางการไหลด้วยวิธีการเปรียบเทียบกับขอบเขตแหล่งน้้าจากฐานข้อมูล Google Map แทนการออกสำรวจขอบเขตแหล่งน้้าในพื้นที่จริง จากการเปรียบเทียบดังกล่าวสามารถพิสูจน์เบื้องต้นได้ว่าทิศทางการไหลบริเวณแหล่งน้้าที่ได้จากการพัฒนาแบบจำลองมีความสอดคล้องกับทิศทางการไหลบริเวณ แหล่งน้้าในสภาพจริง ผลการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่าข้อมูลแหล่งน้้าจากการนำทิศทางการไหลของน้้าที่ได้จากการพัฒนาไปหาขอบเขตแหล่งน้้ามีความสอดคล้องกับข้อมูลแหล่งน้้าจากฐานข้อมูล Google Map โดยข้อมูลจากทั้ง 3 ส่วนมีลักษณะทิศทางการไหลไปในแนวเดียวกัน ไม่มีการเกิดการขาดหายของเส้นทางน้้าแต่อย่างใด สามารถกำหนดจุดระบายน้้าเมื่อเกิดการสะสมของปริมาณน้้าจำนวนมากของพื้นที่ที่ศึกษาได้ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยควรมีการออกภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูล ที่เป็นปัจจุบัน จะทำให้แบบจำลองมีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/362 |
Appears in Collections: | Science Tech - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_158624.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License