กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/363
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบจดจำภาพสำหรับการตรวจจับอะไหล่โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of an image recognition system for spare parts detection using convolutional neural network
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วฤษาย์ ร่มสายหยุด
อุเทน ว่องไว, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธงชัย แก้วกิริยา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
การรู้จำภาพ
นิวรัลเน็ตเวิร์ค (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบจดจำภาพสำหรับการตรวจจับอะไหล่โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบจดจำภาพสำหรับตรวจจับอะไหล่โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน การวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยสองวิธีหลัก วิธีที่หนึ่งขยายความสามารถอัลกอริทึม จากหลักการของการจดจำรูปภาพตามวิธีการเรียนรู้การถ่ายโอนจากความรู้เกี่ยวกับแบบจำลองการถ่ายโอน นำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปที่แบบจำลองเป้าหมายวิธีนี้ทำการฝึกฝนข้อมูลบนชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อตรวจจับชิ้นส่วนอะไหล่ โดยการฝึกฝนจากภาพชิ้นส่วนอะไหล่จำนวน 500 – 1,200 ภาพ และวิธีที่สองดำเนินการโดยการสร้างและการทดสอบแบบจำลอง ซึ่งแบ่งกลุ่มอะไหล่ออกเป็น 5 หมวดหมู่ 1) อะไหล่ขนาดเล็ก 2) อะไหล่พลาสติก 3) อะไหล่โลหะ 4) อะไหล่แผ่นโลหะ และ 5) อะไหล่แท่งเฟอร์ไรต์ การดำเนินการนี้ประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมตามวิธีการเรียนรู้การถ่ายโอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบตรวจจับภาพอะไหล่ และแสดงคำอธิบายชิ้นส่วนอะไหล่แบบเรียลไทม์ ผลการวิจัยนี้มีค่าความแม่นยำร้อยละ 87.44 ค่าเรียกคืนร้อยละ 86.76 ค่าความถูกต้องร้อยละ 86.76 และการวัดประสิทธิภาพโดยรวมร้อยละ 86.64 ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/363
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_160545.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons