กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3697
ชื่อเรื่อง: การบังคับชำระภาษีอากรค้างตามประมวลรัษฎากร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Enforcing payments of tax arrears under the revenue code
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนพงศ์ ภัทรวโรดม, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การชำระภาษี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับการชําระภาษีอากรและการบังคับชําระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรการใช้มาตรการบังคับทางปกครองและการบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาการบังคับชําระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรโดยศึกษาเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และปรับปรุงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเอกสารจากประมวลรัษฎากร ระเบียบ คําสั่ง และแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คําพิพากษาของศาล ตํารากฎหมาย รายงานการวิจัย เอกสารทางวิชาการอื่น ๆ รวมทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนําข้อมูลต่าง ๆ มาเรียบเรียงศึกษาวิเคราะห์หาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่าการบังคับชําระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากรมีปัญหาบางประการในการบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ ปัญหาการใช้อํานาจเกินกวาความจําเป็น ปัญหาการกำหนดระยะเวลาให้ดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรภายใน 10 ปี หากยังขายทอดตลาดทรัพย์สินไม่เสร็จสิ้นให้ขายต่อไปได้โดยไม่ยุติเรื่อง ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ก่อนออกคําสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินกรณีภาษีอากรค้างที่เกิดจากการประเมินตนเองตามใบแจ้งการค้างชําระภาษีอากร (บ.ช.35) และปัญหาการนํามาตรการ ทางกฎหมายอื่นมาใช้บังคับชําระภาษีอากรค้างเนื่องจากหนี้ภาษีอากรเพิ่มสูงขึ้นทุกปีผู้ศึกษาเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรและระเบียบกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ กรณีผู้ค้างภาษีอากรมีทรัพย์สินเกินกว่าหนี้ภาษีอากรควรให้โอกาสได้ชี้แจงผลกระทบที่จะได้รับจากการบังคับชําระภาษีอากรค้างกับทรัพย์สินนั้นพร้อมทั้งให้เสนอวิธีการชําระภาษีอากรค้างเพื่อให้ผู้มีอํานาจใช้ดุลพินิจในการออกคําสั่งและควรกาํหนดให้เจ้าพนักงานดําเนินการเร่งรัด ยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนภายในสิบปีเพื่อกระทบกระเทือนผู้ค้างภาษีอากรน้อยที่สุดและควรกําหนดให้ใบแจ้งการค้างชําระภาษีอากร (บ.ช.35) เป็นคําสั่งทางปกครองเพื่อจะได้ใช้อํานาจยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 อีกทั้งควรนําวิธีการสืบหาทรัพย์สินโดยอาศัยโอกาสตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติและนําวิธีบังคับชําระภาษีอากรค้างของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาใช้ได้แก่การยึดหน่วงทรัพย์สิน และการปรับสถานะหนี้ภาษีอากรให้มีบุริมสิทธิพิเศษเช่นเดียวกบเจ้าหนี้จํานอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3697
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons