Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3698
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธนพัฒน์ ไชยราช, 2514--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-05T02:13:20Z-
dc.date.available2023-03-05T02:13:20Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3698-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาถึงหลักการและแนวคิดในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจและการจัดทำสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เปรียบเทียบลักษณะการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจแต่ละประเภท 2) เพื่อวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ 3) เพื่อวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับการว่าจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายไทย เปรียบเทียบกบกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส และ 4) เพื่อนำผลวิเคราะห์มาเป็นแนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลในการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เช่น คำสั่ง คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล หนังสือตำราทางกฎหมาย บทความของผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยานิพนธ์ และรายงานการวิจัย บทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าทางสื่ออิเล็กโทรนิกส์และสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า สัญญาจ้างผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทำบริการสาธารณะมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงเสนอให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ดังนี้ 1) เพิ่มเติมบทนิยามในมาตรา 4 ว่า “รัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำบริการสาธารณะ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการหรือดำเนินกิจการอันมีลักษณะเป็นการให้บริการแก่ประชาชนหรือดำเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม” 2) เพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 8 จัตวา วรรคห้า ต่อจากข้อความเดิมว่า “ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจใดที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำบริการสาธารณะ การจัดทำสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจนั้นจะต้องดำเนินการในลักษณะของสัญญาทางปกครอง” และ 3) เพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 8 จัตวา วรรคแปด ว่า “ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจตามวรรคห้าให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง”th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเขตอำนาจศาล--ไทยth_TH
dc.titleปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจth_TH
dc.title.alternativeThe conflict of jurisdiction in a dispute related to public enterprise director employment contracten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study on jurisdiction issues regarding disputes related to public enterprise director employment contracts aims to: 1) study related ideas and theories of public enterprise operations and public enterprise director employment contracts, and compare operations of each public enterprise; 2) analyse law statuses of public enterprise director employment contracts; 3) analyse and compare laws related to public enterprise director employment with French laws; and 4) use analysis results as guideline to amend laws concerning court jurisdictions and diagnose disputes on public enterprise director employment contracts. This independent study is a qualitative research collecting and analyzing data from documents namely orders, court judgments, resolutions of administrative courts, decisions among courts, legal text books, articles from competent professionals, thesis and research, provisions and online articles. It was found that public service-purposed public enterprise director employment contracts is administrative contracts and is under the power of Administrative Court judgment. The suggestion is to amend the Act on Qualification Standards for Directors and Officials of State Enterprises B.E. 2518 (1975) as follows; 1) The definition in Section 4, namely, “public enterprises with public service purposes” refer to public enterprises offering services to the public and responding to the public’s needs should be added. 2) In Section 8 the Forth, Paragraph 5, “For public enterprises with public service purposes, enterprise director employment contracts must be administrative contracts” should be added. 3) In Section 8 the Forth, Paragraph 8 , “Disputes on enterprise director employment contracts according to Paragraph 5 is under the power of Administrative Court judgment” should be addeden_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons