กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3698
ชื่อเรื่อง: ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The conflict of jurisdiction in a dispute related to public enterprise director employment contract
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนพัฒน์ ไชยราช, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
เขตอำนาจศาล--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาถึงหลักการและแนวคิดในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจและการจัดทำสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เปรียบเทียบลักษณะการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจแต่ละประเภท 2) เพื่อวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ 3) เพื่อวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับการว่าจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายไทย เปรียบเทียบกบกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส และ 4) เพื่อนำผลวิเคราะห์มาเป็นแนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลในการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เช่น คำสั่ง คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล หนังสือตำราทางกฎหมาย บทความของผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยานิพนธ์ และรายงานการวิจัย บทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าทางสื่ออิเล็กโทรนิกส์และสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า สัญญาจ้างผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทำบริการสาธารณะมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงเสนอให้มีการแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ดังนี้ 1) เพิ่มเติมบทนิยามในมาตรา 4 ว่า “รัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำบริการสาธารณะ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการหรือดำเนินกิจการอันมีลักษณะเป็นการให้บริการแก่ประชาชนหรือดำเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม” 2) เพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 8 จัตวา วรรคห้า ต่อจากข้อความเดิมว่า “ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจใดที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำบริการสาธารณะ การจัดทำสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจนั้นจะต้องดำเนินการในลักษณะของสัญญาทางปกครอง” และ 3) เพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 8 จัตวา วรรคแปด ว่า “ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจตามวรรคห้าให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง”
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3698
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons