Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3699
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลชัย รัตนสกาววงศ์th_TH
dc.contributor.authorธนภัทร รัตนพันธ์, 2525-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-05T02:23:41Z-
dc.date.available2023-03-05T02:23:41Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3699en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองโดยศาลปกครอง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความหมายและหลักการของการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาททางปกครองในศาลปกครอง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ตลอดจนเสนอแนะเพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องเกี่ยวกับการนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ควบคู่ไปกับกระบวนการยุติธรรมทางปกครองกระแสหลัก การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง และการนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่รัฐมีหน้าที่อํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน หนังสือ บทความ งานวิจัย วารสาร สื่อสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าประเทศซึ่งเป็นต้นแบบของประเทศที่มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น เพื่อทําหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองโดยเฉพาะ เช่น ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมัน ได้บัญญัติให้อํานาจแก่ศาลปกครองทําการไกล่เกลี่ยคดีพิพาททางปกครอง เพื่อให้คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ แต่สําหรับประเทศไทยนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายวาด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง ไม่ได้บัญญัติให้อํานาจแก่ศาลปกครองไว้ ศาลปกครองจึงไม่อาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองได้ ซึ่งจากการศึกษาผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางว่า ควรมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง เพื่อให้คู่ความประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งเป็นแนวคิดในการนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ควบคู่ไปกับกระบวนการยุติธรรมทางปกครองกระแสหลัก ดังนั้น จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ตลอดจนระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดหลักเกณฑ์และประเภทของคดีที่ไกล่เกลี่ยได้ อํานาจและขอบเขตของศาลปกครอง ในการพิพากษาตามยอม และกำหนดให้คําพิพากษาตามยอมเป็นที่สุด ห้ามมิให้อุทธรณ์ในเนื้อหาของคําพิพากษา รวมทั้งมาตรารองรับในการบังคับคดี ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งข้อพิพาททางปกครองได้อีกทางหนึ่งด้วยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการไกล่เกลี่ยth_TH
dc.subjectวิธีพิจารณาคดีปกครองth_TH
dc.titleการไกล่เกลียข้อพิพาททางปกครองโดยศาลปกครองth_TH
dc.title.alternativeAdministrative mediation in Administrative Courten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study on administrative mediation in Administrative Court aims to study concepts, theories, definitions and principles of administrative mediation in Administrative Court, problems related to administrative mediation, and also suggest the improvement guidelines of jurisprudences in accordance with the Act Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999) and Rule of the General Assembly of Judges of the Supreme Administrative Court on Administrative Court Procedure B.E. 2543 (2000) to bring about clarity and agreement in implementation of alternative dispute resolution along with the conventional administrative justice system. This independent research is a qualitative research collecting data from provisions of laws concerning administrative mediation and providing alternative justice procedure which the State have to provide for the citizens, books, articles, researches, journals, electronic media and other relevant documents. It was found that the model countries where the Administrative Court exist for administrative dispute especially France and Germany provide the court power to mediate administrative disputes. In Thailand, the Administrative Court and Administrative Court Procedure, B.E. 2542, did not authorize Administrative Court to consider administrative disputes. Therefore, the Administrative Court has not power to mediate administrative disputes. The author suggests that there should be administrative mediation resolution and compromises that are used together with the conventional administrative justice system. Therefore, provisions should be added to the Administrative Court and Administrative Court Procedure, B.E. 2542, and protocols of the General Assembly of Judges in Administrative Court on administrative case consideration. Principles and types of cases, power and the scope of Administrative Court should be determined. Administrative Court’s decisions should be final and not subject to appeal. There should also be enforcement measures that will be used as tools and methods of administrative dispute resolution.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons