กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3699
ชื่อเรื่อง: การไกล่เกลียข้อพิพาททางปกครองโดยศาลปกครอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Administrative mediation in Administrative Court
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนภัทร รัตนพันธ์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การไกล่เกลี่ย
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองโดยศาลปกครอง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความหมายและหลักการของการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาททางปกครองในศาลปกครอง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง ตลอดจนเสนอแนะเพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องเกี่ยวกับการนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ควบคู่ไปกับกระบวนการยุติธรรมทางปกครองกระแสหลัก การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลจากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง และการนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่รัฐมีหน้าที่อํานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน หนังสือ บทความ งานวิจัย วารสาร สื่อสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าประเทศซึ่งเป็นต้นแบบของประเทศที่มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น เพื่อทําหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองโดยเฉพาะ เช่น ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมัน ได้บัญญัติให้อํานาจแก่ศาลปกครองทําการไกล่เกลี่ยคดีพิพาททางปกครอง เพื่อให้คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ แต่สําหรับประเทศไทยนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายวาด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง ไม่ได้บัญญัติให้อํานาจแก่ศาลปกครองไว้ ศาลปกครองจึงไม่อาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครองได้ ซึ่งจากการศึกษาผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางว่า ควรมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง เพื่อให้คู่ความประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งเป็นแนวคิดในการนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ควบคู่ไปกับกระบวนการยุติธรรมทางปกครองกระแสหลัก ดังนั้น จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ตลอดจนระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดหลักเกณฑ์และประเภทของคดีที่ไกล่เกลี่ยได้ อํานาจและขอบเขตของศาลปกครอง ในการพิพากษาตามยอม และกำหนดให้คําพิพากษาตามยอมเป็นที่สุด ห้ามมิให้อุทธรณ์ในเนื้อหาของคําพิพากษา รวมทั้งมาตรารองรับในการบังคับคดี ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งข้อพิพาททางปกครองได้อีกทางหนึ่งด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3699
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons