Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3701
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธนิกา สายสร, 2521--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-05T03:16:57Z-
dc.date.available2023-03-05T03:16:57Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3701-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหามาตรการทางกฎหมายในการถือครองที่ดินของราษฎรเพื่อป้องกันการบุกรุกเขตป่าไม้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม นําไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการจัดการว่าราษฎรจะมีสิทธิในที่ดินอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายหยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้ เนื่องจากการกำหนดเขตพื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ขึ้นโดยกฎหมาย เป็นผลให้การบุกรุกเข้าไปหรืออยู่อาศัยของราษฎรมีความผิดตามกฎหมาย แม้ราษฎรจะมีหลักฐานการครอบครองที่ดินมาก่อนการประกาศเขตป่าและมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ แต่หากไม่มีการดําเนินการโดยชอบตามกฎหมายที่ดิน บุคคลนั้นก็ไม่มีสิทธิในที่ดินที่ตนครอบครองอยู่ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาค้นคว้าและรวมรวม ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากตําราหนังสือทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดจนศึกษาข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย คําพิพากษาฎีกา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ผลการศึกษาพบวา การกำหนดเขตพื้นที่ป่าไม้เป็นอํานาจของรัฐเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น การพิสูจน์สิทธิไม่เปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วม และยังมีนโยบายประกาศพื้นที่ป่าหลายประเภททับซ้อนกบพื้นที่ทํากินของราษฎรโดยไม่มีการสํารวจพื้นที่จริง จึงเห็นควรให้ใช้หลักคิดสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของราษฎรผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดแนวเขตที่ดินป่าไม้ ให้มีการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจนว่าราษฎรกับการประกาศเขตป่าใครมาก่อน หากคนอยูก่อนประกาศเขตป่าไม้ให้ดําเนินการออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินตลอดจนนําแนวคิดการจัดการเขตกันชน ให้ราษฎรสามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินติดเขตป่าไม้ได้ แต่ต้องจํากดกิจกรรมบางประการที่ไม่ทําให้เป็นการรบกวนสภาพนิเวศธรรมชาติของป่าไม้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการถือครองที่ดิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการถือครองที่ดินของราษฎรเพื่อป้องกันการบุกรุกเขตป่าไม้th_TH
dc.title.alternativeLand ownership legal measures for forest encroachment protectionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to identify villagers’ land ownership legal measures to prevent encroachment on forest areas. It leads to the suggestion ways to manage people's land entitlement to be in compliance with deforestation prevention policies. Due to the definition of conservation of forest areas by law, such areas made encroachment on forest areas illegal even though people had proof of land entitlement before the forest areas were established. However, if no legal action is taken, people have no right to the land they own. This independent study is qualitative research. Data was collected and documents were studied. Books from both Thailand and abroad including information from the media, law, judgment, dissertations, research, documents and related information, as well as related international laws of the United States and Indonesia were used. The study indicated that the government was the only one who could determine forest land. Proof of ownership rights does not allow people to participate. There is also a policy to declare forest areas overlapping people's living areas while the areas were not established. Therefore, it is appropriate to use the concept of community rights, and stakeholders should participate in defining forest land. People who want to claim land must have clear proof of entitlement showing that such claim was dated first. If a person lived there before forest areas were established, documents showing their entitlement to the land should be issued according to the Land Code. The concept of buffer zones should be considered, i.e., people can own land adjacent to forest areas, but some activities must be limited so there are no ecological impacts on the foresten_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons