Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3703
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบth_TH
dc.contributor.authorธรรมนิตย์ คงทน, 2520-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-05T03:45:13Z-
dc.date.available2023-03-05T03:45:13Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3703en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองของไทยและของต่างประเทศรวมถึงศาลระบบอื่นในประเทศไทย เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักกฎหมายและแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองไทยกับศาลในระบบอื่นของไทยและศาลต่างประเทศและเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครองไทย ตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากเอกสาร บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลที่เผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แนวคำวินิจฉัยของศาลไทยและหลักกฎหมายของศาลต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครองสูงสุด ผลการศึกษาพบว่าศาลปกครองไทยมีหลักในการพิจารณาขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาในศาลปกครองสูงสุดที่เคร่งครัด ในขณะที่การกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งในศาลปกครองกลับมีความยืดหยุ่น หรือผ่อนคลายมากกว่าในลักษณะที่ให้อำนาจศาลที่จะย่นหรือขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักกฎหมายในศาลปกครองของฝรั่งเศสและศาลปกครองเยอรมัน ตลอดจนศาลยุติธรรมของไทย ที่ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งได้ โดยที่ศาลปกครองไทยให้เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นว่าเนื่องจากระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งมิได้ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ ทั้งไม่อำนาจเอาหลักการขยายระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 มาใช้ได้เนื่องจากเป็นการขัดแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองจึงไม่อาจขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้การที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มิได้มีการบัญญัติให้อำนาจศาลในการย่นหรือขยายระยะเวลาไว้ อย่างชัดแจ้งเช่นในศาลปกครองต่างประเทศ หรือในศาลยุติธรรมไทย มีผลทำให้ระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล ปกครองไทยมีระยะเวลาที่จจำกัดและไม่อาจผ่อนคลายได้ โดยไม่คำนึงว่าเหตุที่ทำให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่อาจยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้นั้นเนื่องมาจากสาเหตุใด ทั้งที่ระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาตามกฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวคือเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหวางศาลกับคู่กรณีในคดีในกระบวนวิธีพิจารณา มิใช่อายุความให้ใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหวางคู่กรณีด้วยกนเอง เป็นการจำกัดสิทธิในการที่จะให้ศาลปกครองสูงสุดได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ส่งผลทำให้ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง ได้อย่างแท้จริงผู้ศึกษาเห็นว่า การแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรที่จะแก้ไขบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้อำนาจศาลในการพิจารณาขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองไทยเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและเพื่อเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้มีโอกาสต่อสู้คดีได้อยางเต็มภาคภูมิอันเป็นการอำนวยความยุติธรรมในทางปกครองอีกทางหนึ่งth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectวิธีพิจารณาคดีปกครองth_TH
dc.subjectอุทธรณ์th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดth_TH
dc.title.alternativeExtension of the period of time for filing an appeal to the supreme administrative court of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study are to make comparative study on the significant rules of the extension of the period of time for filing an appeal against decisions of the administrative courts with the court of justice in Thailand, and those of other foreign countries, and to analyze the principles of law and precedents thereof in order to suggest appropriate guidelines to improve the law relationg to the determination of the period of for filing an appeal against decisions of the administrative court in Thailand. The study is based on a qualitative research, including examining research documents, academic articles, theses, data on electronic media, and precedents of Thai courts and foreign principles of law in relation to the determination of the period of time for filing the appeal to the supreme administrative court. The study reveals that there is currently no legal principles providing the extension of the period of time for filing an appeal to the Supreme Administrative Court in Thailand, while there is more flexibility in terms of the power of courts in France, Germany, and the Thai court of justice In fact, such appeal period is specified by the procedural law, in other words it is a relationship between the court and the parties concerned in the court procedure, not the prescription which is a relationship between the parties. In addition, it restricts the supreme administrative court’s power to review the legality of the judgment of the administrative court of first instance resulting in the inability to provide the true administrative justice. Therefore, the researcher suggests that the Act on Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999) should be amended in terms of granting the power to the administrative court to consider the extension of The period of time for filing an appeal against the judgment of Thai administrative court in order to conform with international principles and allow the parties to defend their cases which will result in the provision of true administrative justice. Keywords An Extension of the Period of time for filing an Appeal to the Supreme Administrative Court.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons