Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3705
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชัย ศรีรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธวัชชัย ทับทิมสงวน, 2506--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-05T03:58:40Z-
dc.date.available2023-03-05T03:58:40Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3705-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงวิธีการลงทัณฑ์บังทางวินัยของกฎหมายฝ่ายทหาร เนื่องจากทหารผู้ถูกลงทัณฑ์ต้องถูกควบคุมตัวไว้ในเรือนจำ โดยไม่ผ่านกระบวนการทางตุลาการ ทั้งที่ลักษณะและวิธีการจำขัง ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิเสรีภาพนพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อนำข้อมูลและผลจากการศึกษาค้นคว้าเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สําหรับนําไปประกอบการพิจารณาหรือเป็นแนวทางในการปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการลงทัณฑ์ขังทางวินัยทหารให้เหมาะสมกับยุคสมัยสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของปวงชน เพื่อให้มีความเป็นสากลเป็นที่ยอมรับของบุคคลโดยทั่วไป ผู้ศึกษาได้ศึกษากฎหมาย คำสั่งและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งข้าราชการอื่นของไทยและทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law และประเทศฝรั่งเศสซึ่งใช้ระบบ Civil Law เพื่อเปรียบเทียบประกอบ วิเคราะห์วิธีการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจสั่งลงทัณฑ์จำขังผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยไม่ผ่านกระบวนการทางตุลาการ ทั้งที่เป็นการจํากัดสิทธิและอิสรภาพอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนว่ามีความสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและหลักการสากลหรือไม่อย่างไร ผลจากการศึกษา พบว่า 1) วิธีการลงทัณฑ์จําขังทหารตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 มีลักษณะที่รุนแรงกว่าการลงโทษทางวินัยข้าราชการอื่น เช่น ข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการตำรวจ จะไม่มีการจําขังผู้กระทำผิดวินัยไว้ในเรือนจํา 2) ทหารที่ถูกลงทัณฑ์จําขังของไทยถูกลดทอนสิทธิมากกว่าทหารของต่างประเทศ เช่น ทหารสหรัฐอเมริกาทีใช้ระบบ Common Law และฝรั่งเศสที่ใช้ระบบ Civil law เนื่องจากทหารของทั้งสองประเทศมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัย มีสิทธิตรวจดูเอกสารหลักฐาน มีสิทธิเลือกให้ศาลทหารพิจารณา มีสิทธิปรึกษาทนายความ โดยเฉพาะทหารของฝรั่งเศสหากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการลงทัณฑ์สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ 3) การลงทัณฑ์ทหารไทยไม่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และยังไม่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่มีความเป็นสากลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectทหาร--กฎและการปฏิบัติth_TH
dc.titleความสอดคล้องของการลงทัณฑ์จำขังตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476 กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยth_TH
dc.title.alternativeImposing disciplinary detention under the military disciplinary Act B.E.2476 : question on the compliane with the Constitutional Human Rightsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons