Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3726
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลี สุรเชษฐth_TH
dc.contributor.authorนวกร คำดี, 2511-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-05T06:51:54Z-
dc.date.available2023-03-05T06:51:54Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3726en_US
dc.description.abstractค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจในการควบคุมผู้ชุมนุมในที่สาธารณะเพื่อศึกษาปัญหากฎหมายและมาตรการในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่ดำเนินการควบคุมหรือรักษาความสงบของการชุมนุมในที่สาธารณะว่าเป็นไปตามกฎหมายและมีมาตรการควบคุมเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ และเพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการเสนอกฎหมายที่เหมาะสมกับการควบคุมการชุมนุมของเจ้าพนักงานตำรวจ วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ตำรา เอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือการปฏิบัติการของหน่วยงานและเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการควบคุมและจัดระเบียบการชุมนุมสาธารณะ บทความจากวารสารต่าง ๆ ข่าวจากหนังสือพิมพ์ และสารสนเทศบน Internet นำมาประมวลเป็นข้อมูลเพื่อทําการศึกษาวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การชุมนุมสาธารณะถือเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ให้ประชาชนสามารถกระทำได้ เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีอำนาจสั่งห้ามการชุมนุมสาธารณะ มีเพียงหน้าที่ดูแลการชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบเรียบร้อยไม่ให้ฝ่าฝืนกฎหมายเท่านั้น และปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้กับการชุมนุมสาธารณะโดยเฉพาะ เจ้าพนักงานตำรวจจึงควบคุมการชุมนุมสาธารณะ โดยใช้กฎหมายทั่วไปที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงในการชุมนุมแต่ละครั้งมาปรับใช้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละเรื่อง ในส่วนของมาตรการที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะในแต่ละครั้ง เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดถึงมาตรการในการควบคุมการชุมนุม โดยเฉพาะทำให้การดำเนินการควบคุมการชุมนุมเป็นมาตรการที่มีผู้มีอำนาจควบคุมการชุมนุมครั้งนั้น ๆ เป็นผู้สั่งสถานการณ์การชุมนุมในแต่ละครั้งให้ดำเนินการโดยไม่มีกฎหมายหรือรูปแบบหรือหลักการใด ๆ รองรับคำสั่งดังกล่าวเป็นการสั่งตามดุลพินิจในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งทําให้การใช้มาตรการในการควบคุมและสลายการชุมนุมหลายครั้งไม่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ จนเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้อง ในส่วนของผู้ชุมนุมเองเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดมาตรการดังกล่าวแล้วทําให้ไม่สามารถจะทราบได้เลยว่าเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมดำเนินกิจกรรมในการจัดการชุมนุมอย่างไรแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจจะใช้มาตรการใดในการควบคุมหรือสลายการชุมนุมเพราะการดำเนินการของเจ้าพนักงานตำรวจจะใช้การควบคุมหรือสลายการชุมนุมลักษณะเช่นใดจะขึ้นกับการสั่งการโดยผู้ควบคุมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectตำรวจ--การปฏิบัติหน้าที่th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจในการควบคุมและจัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะth_TH
dc.title.alternativePolice legal measures on the control of public assemblyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons