กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3748
ชื่อเรื่อง: อำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่เกิดจากความตายในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: National anti-corruption commission (NACC)'s authority on criminal prosecution in case of death of defendant convicts during police custody
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตรา เพิ่มทรัพย์ ลิ้มกาญจนาพันธุ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
การสอบสวนคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฎีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฎีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฎีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามมาตรา 89/2 เพื่อศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อันจะนำไปสู่การบัญญัติกฎหมายหรือมาตรการอื่น ๆ เพื่อให้การปราบปรามการทุจริตมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ งานวิจัย และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการศีกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีที่เกิดจากความตายในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ยังมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายหลายหน้าที่ของคณะกรรมการประการ และมีผลกระทบต่ออานาจหน้าทีทีมีความเกี่ยงกันระหว่างป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และอำนาจของพนักงานสอบสวน รวมทั้งผลกระทบถึงการดำเนินการในฟ้องคดี จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนในการดำเนินคดีอาญา และการตีความในการบังคับใช้กฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3748
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons