กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/378
ชื่อเรื่อง: | ผลิตภาพการผลิตยาปราศจากเชื้อของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม มาลินี โตวนิชย์, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คนองยุทธ กาญจนกูล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ยา--ต้นทุนการผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2544 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ต้นทุนต่อหน่วยของยาปราศจากเชื้อ (2) ผลิตภาพการผลิตยาปราศจากเชื้อ และ (3) สถานภาพทั่วไปของหน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อในด้านการบริหารจัดการการผลิตของผู้บริหาร การปฏิบัติด้านการผลิต และความพึงพอใจในงานของบุคลากรในหน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ประชากรที่ศึกษา คือ ข้อมูลต้นทุนทุกประเภททุกหน่วยงาน ปีงบประมาณ 2544 และบุคลากรหน่วยผลิตยาปราศจากเชื่อ จํานวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนการผลิต และ (2) แบบสอบถามสถานภาพทั่วไปของหน่วยผลิต ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า (1) ต้นทุนต่อหน่วยบรรจุเฉลี่ยเท่ากับ 22.72 บาท ต้นทุนยา Dialysis 1,000 มล. สูงสุด 28.75 บาท และต้นทุนน่ากลั่น 1,000 มล. ต่ำสุด 19.62 บาท ต้นทุนต่อมูลเฉลี่ย เท่ากับ 0.12 บาท สําหรับ 50% กลูโคส 50 มล. สูงสุด 0.43 บาท และสำหรับนำกลับ 1,000 มล. ต่ำสุด 0.02 บาท ต้นทุนการผลิต ทั้งสิ้น 3,385,286.79 บาท แบ่งเป็นต้นทุนทางตรงร้อยละ 15.49 ต้นทุนทางอ้อมร้อยละ 7.79 และต้นทุนแปรผัน ร้อยละ 16.72 โดยต้นทุนทางตรงส่วนใหญ่เป็นค่าแรงร้อยละ 31.59 ค่าวัสดุร้อยละ 17.30 และค่าลงทุนร้อยละ 26.60 (2) ผลิตภาพการผลิตส่วนใหญ่มีค่ามากกว่า 1 (ค่าเฉลียเท่ากับ 1.4163) มียา 2 รายการที่มีผลิตภาพการผลิตน้อยกว่า 1 คือนํากลับฉีดยา 200 มล. และขนาด 50 มล. และ (3) สถานภาพทั่วไปของหน่วยผลิตพบว่ามีการบริหารจัดการที่ดี (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.72) การปฏิบัติด้านการผลิตพบว่ามีผลิตการในด้านวัตถุดิบ ด้านการขนถ่ายวัสดุ ด้านการจัดเก็บและจ่ายยา ส่วนด้านเครื่องมือเครื่องจักรและด้านเทคนิคการผลิต ยังมีการปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามระบบการผลิตที่กำหนดไว้ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28) บุคลากรมีความพึงพอใจในงาน(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75) เรื่องที่มีความพึงพอใจน้อย คือ อุณหภูมิห้องผลิต บุคลากรมีการยอมรับและให้เกียรติกันระหว่างผู้ร่วมงาน ข้อเสนอแนะการวิจัยนี้ โรงพยาบาลควรเน้นการผลิตที่ไม่มีผู้ใดผลิตจําหน่ายและควรปรับราคา ให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตจริง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/378 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License