Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/380
Title: การอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
Other Titles: The freezing of assets of tax defaulters in accordance with the revenue code
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติชัย พันธ์เกษม, 2510- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
การยึดทรัพย์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอายัดทรัพย์สิน ของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร เสนอร่างปรับปรุงและแก้ไขหลักเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในการอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร การศึกษาวิจัย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสาร ซึ่งเป็นข้อมูลจากหลักกฎหมาย และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ บทความ เอกสารวิชาการ และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท โดยนำมาวิเคราะห์กับปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผลการศึกษพบว่า ปัญหาการอายัดทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากร เกิดจากการติดตามสอบสวน ทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร โดยเฉพาะสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากธนาคาร ที่ต้องออกหมายเรียกเพื่อให้ สํานักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ แจ้งข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากไม่ชัดเจน เกิดความล่าช้า ทําให้ไม่สามารถติดตามทรัพย์สินได้ดังนั้นผู้ศึกษาเห็นว่าควรกำหนดให้ธนาคารแจ้งข้อมูลบัญชีเงินฝากของผู้ค้างภาษีอากร โดยระบุรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวบัญชีให้ชัดเจนเช่น บัญชีเงินเดือน เลขประจำตัวประชาชน เป็นต้น นอกจากนั้นปัญหาเกี่ยวกับวิธีการอายัดทรัพย์สิน โดยเฉพาะเรื่องผู้มีอํานาจลงนามในคำสั่งอายัดทรัพย์สิน ซึ่งในจังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอาเภอ มีอํานาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสองภายในเขตท้องที่จังหวัดหรื่ออำเภอนั้น สําหรับนายอำเภอจะใช้อํานาจสั่งขายทอดตลาดได้ต่อเมื่่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด หลังจากแบ่งส่วนราชการกระทรวงการคลังใหม่แล้ว อํานาจสั่งอายัดทรัพย์สิน จึงมิได้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจอีกต่อไป แต่มิได้ทําการแก้ไขหรือยกเลิกความในวรรคนี้ ทําให้เกิดความล่าช้าในการลงนามในคำสั่งอายัดทรัพย์สินเพราะต้องเสนอสรรพากรเขต (สรรพากรภาค) เป็นผู้ลงนาม ดังนั้นเพื่อให้การพิจารณาปัญหาการดำเนินการอายัดทรัพย์สินโดยเฉพาะตัวผู้มีอํานาจลงนามในคำสั่งอายัดทรัพย์สิน ผู้วิจัย เสนอว่าควรให้สรรพากรพื้นที่เป็นผู้มีอํานาจตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการพิจารณาสั่งการของผู้มีอํานาจ และระยะเวลาในการเสนอให้ผู้มีอํานาจลงนามในคำสั่งอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/380
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons