กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3804
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An effect of mathematics cooperative learning activities on learning achievement in the topic of relationships between fraction and percentage of Prathom Suksa IV students at st.Joseph Bang Na School in Samut Prakarn Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันตรี คุปตะวาทิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันดี ทัดเปี่ยม, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- ไทย -- สมุทรปราการ
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
การเรียนรู้เป็นทีม
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (2) ศึกษาความก้าวหน้าของคะแนนระหว่างเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (3) ศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2bปีการศึกษา 2550 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา จังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มมา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเป็นวิชาคณิตศาสตร์และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่มของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความก้าวหน้าของคะแนนจากการทดสอบย่อยระหว่างเรียน ของกลุ่มทั้ง 6 กลุ่ม มี 1 กลุ่มได้รับการยกย่อง อีก 5 กลุ่ม ไม่ถึงเกณฑ์ได้รับการยกย่อง (3) นักเรียนที่เรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือทั้ง 6 กลุ่มมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่มในระดับดีมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3804
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_112987.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons