Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3824
Title: การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: A synthesis of research on local curriculum development on the basic education committee level
Authors: จันตรี คุปตะวาทิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วารุจี สินธุบุญ, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- หลักสูตร
การพัฒนาการศึกษา
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านข้อมูลทั่วไปของงานวิจัย 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณลักษณะของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความต้องการหลักสูตรท้องถิ่นของชุมชน องค์ประกอบของหลักสูตรท้องถิ่น กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้หลักสูตรท้องถิ่น ปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ เป็นวิทยานิพนธ์และงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ.2540 - 2549 และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกงานวิจัยตามที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ จำนวน 61 เรื่อง ผลการวิจัย พบว่า (1) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ทาเพื่อประกอบการศึกษา และเป็นงานวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอน ผู้บริหาร นักเรียน ศึกษานิเทศก์และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ และ(2) ผลการสังเคราะห์เนื้อหาสรุปได้ดังนี้ คือ ชุมชนต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและต้องการให้ครูสอนโดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น หลักสูตรท้องถิ่นส่วนใหญ่มีองค์ประกอบ 6 ด้าน และพัฒนาโดยใช้กระบวนการ 4 ขั้นตอน ซึ่งมีการใช้รูปแบบการพัฒนา 2 ลักษณะโดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่จาแนกได้ คือ ปัจจัยที่ส่งเสริมความสาเร็จในการบริหารจัดการ และปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น ส่วนประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้หลักสูตรท้องถิ่น พบว่า มีประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียน ครู ชุมชน และได้มีการนาทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนปัญหา/อุปสรรคที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านปัจจัยได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3824
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_98103.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons