กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/382
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลวิชาชีพใหม่ โรงพยาบาลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of nurse mentorship model for new professional nurses, Pakkred Hospital, Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิดาภา รอดโพธิ์ทอง, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
พยาบาลพี่เลี้ยง
พยาบาล--การฝึกอบรมในงาน
การสอนงาน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง สำหรับพยาบาลวิชาชีพใหม่ โรงพยาบาลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์ โดยทบทวนวรรณกรรม สังเกต สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานและการสอนงาน สัมภาษณ์เชิงลึกหัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลปากเกร็ด จำนวน 13 คน 2) พัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงโดยแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 14 คน จัดสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณาและปรับปรุงรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง นำรูปแบบไปทดลองใช้และปรับปรุงรูปแบบ 15 สัปดาห์ 3) ประเมินรูปแบบ โดยประเมินสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพใหม่ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ และประเมินความพึงพอใจโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลวิชาชีพใหม่ และพยาบาลพี่เลี้ยง 16 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบประเมินสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ซึ่งพัฒนาโดยสมจิต พูลเพ็ง (2550) มีความเที่ยง 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง มีการดำเนินกิจกรรม 4 ระยะ (15 สัปดาห์) คือ 1) เพาะพันธุ์ต้นกล้า (6 สัปดาห์) ประกอบด้วย การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมเกิดความตระหนักและร่วมกำหนดนโยบายการกำหนดคุณสมบัติ คัดเลือก และอบรมพยาบาลพี่เลี้ยง การจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง จัดปฐมนิเทศที่มีกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลวิชาชีพใหม่และพยาบาลพี่เลี้ยงของตนเอง และการทบทวนความรู้และทักษะก่อนปฏิบัติงาน 2) อนุบาลต้นอ่อน (5 สัปดาห์) โดยให้พยาบาลวิชาชีพใหม่ ปฏิบัติงานในหน่วยงานภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยงของตน 3) หยั่งรากลงดิน (4 สัปดาห์) จัดการ เรียนรู้แก่พยาบาลวิชาชีพใหม่แต่ละคน และทบทวนความรู้เพิ่มเติมระหว่างปฏิบัติงาน และ 4) เติบโต งดงามตามครรลอง (1 วัน) สรุปและประเมินผลรูปแบบ ผู้วิจัยจัดกิจกรรมสุนทรียสนทนาเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพใหม่ ได้ถ่ายทอดปัญหา อุปสรรค และรับการประคับประคองด้านจิตใจจากพยาบาลพี่เลี้ยงทั้ง 4 ระยะ 2. หลังใช้รูปแบบพยาบาลวิชาชีพใหม่ประเมินสภาพแวดล่อมในการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยาบาลพี่เลี้ยงและพยาบาลวิชาชีพใหม่ มีความพึงพอใจในรูปแบบ เนื่องจากก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน สร้างความมั่นใจในการทำงาน และเกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/382
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons