Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3885
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนุชจรินทร์ อินประถม, 2519--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-09T03:12:49Z-
dc.date.available2023-03-09T03:12:49Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3885-
dc.description.abstractในการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เกี่ยวกับการกระทำความผิดการสมยอมในการเสนอราคา สาระสำคัญในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 และการสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) ด้านการวิจัยเอกสาร (Docmentary Research) โดยศึกษาความสำคัญและสภาพปัญหาของการกระทำความผิดเกี่ยวกับการสมยอมการเสนอราคา ตลอดจนมาตรการทางกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ศึกษาหลักการและแนวคิด สาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ศึกษาเปรียบเทียบสาระสำคัญการสอบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อเสนอแนวทางการสอบสวนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ทางเอกสารเป็นสำคัญ ค้นคว้าจากตัวบทกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ระเบียบการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช. พระราชบัญญัติกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และรายงานประจำปีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวบรวมข่าวสาร ข้อเขียนเชิงวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุดสำนักงาน ป.ป.ช. จากหนังสือ ตำรา ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยรวบรวมทั้งจากเอกสารภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ สำหรับการนำมาศึกษา วิเคราะห์ประกอบกันจากการศึกษารูปแบบและวิธีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ทำให้เห็นว่ามาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาการกระทาความผิดที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาสมควรเพิ่มเติมทางมาตรการทางกฎหมายและมาตรการด้านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ โดยประการแรกรัฐบาลควรที่จะยอมรับสภาพปัญหาและความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน โดยเน้นว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่จะต้องใช้เวลาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ควรมีการออกระเบียบ หรือกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรการหรือวิธีการโดยวิธีพิเศษในการให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการสอบสวนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เช่นเดียวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้การสอบสวนข้อเท็จจริงเกิดประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ควรมีการสร้างศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อให้พร้อมทาหน้าที่ ควรมีการคัดเลือกบุคลากรอย่างเข้มงวดที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสัมฤทธิ์ผล เหมือนเช่นหน่วยงาน FBI ของสหรัฐอเมริกา และหน่วยงาน ICAC ของฮ่องกง และควรเพิ่มการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นความผิดมูลฐานหนึ่งของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อสามารถใช้มาตรการทางแพ่งและอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินมาดำเนินการอีกมาตรการหนึ่งเพื่อปราบปรามผู้กระทำความผิดให้เกิดความเกรงกลัวth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)th_TH
dc.subjectการประมูล--การทุจริตth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleปัญหาการสอบสวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติth_TH
dc.title.alternativeProblems of inquiries according to the offence act on submission of bids to state agencies in 1999 by the National Anti-Corruption Committeeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study on problems of inquiries according to the Offence Act on submission of bids to State Agencies bidding to government agencies in 1999 by the National Anti-Corruption Committee aims to study investigation the facts of the National Anti-Corruption Committee on collusion offences in the bidding process, main topics of the Offence Act in regard to bidding to government agencies in 1999 and investigation of the National Anti-Corruption Committee (NACC) and the Department of Special Investigation. This study is a qualitative and documentary research on documents and textbooks. Problems of collusion offences in the bidding process, legal measures that are enforceable at present, principles and concepts, main topics of the Offence Act in regard to bidding to government agencies were studied. Investigation processes of the National Anti-Corruption Committee and the Department of Special Investigation were compared in order to offer guidelines on investigation according to the Submission of Bids to State Agencies, B.E. 2542. In this qualitative study, important documents and laws were studied, which were the Submission of Bids to State Agencies, B.E. 2542, regulation of fact inquiries of the NACC Commission, the Department of Special Investigation Act, B.E 2547 and NACC Commission annual reports. News, academic articles, thesis, documents on offences of submission of bids to state agencies, the library of the Office of NACC Research both in Thai and English were studied and analyzed. In terms of forms and methods, the study found that measures to prevent and suppress offences of submission of bids to state agencies the offences were not sufficient. The author suggested the following solutions to optimize efficiency of solutions to these problems. First, the government should accept that there are problems and try to solve corruption problems focusing on structural problems that need time to solve. Second, regulations or laws should be enacted giving authority to the National Anti-Corruption Committee and the Department of Special Investigation to investigate facts on offences according to the Submission of Bids to State Agencies, B.E. 2542. Moreover, the National Anti-Corruption Committee should identify potential of officers so they are ready to work. Personnel recruitment should be done in a strict manner to render the most efficient performance like that of the FBI of the USA and the ICAC of Hong Kong. Furthermore, offences on submission of bids to state agencies should be added in the Money Laundering Prevention Act, B.E. 2542 so that they have both civil and criminal measures to suppress offenders to fear and then prevent offenders from committing offencesen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons