Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3909
Title: การกันบุคคลไว้เป็นพยานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Other Titles: Taking of the person as witness of the national anti-corruption commission
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริวรรณ ทองคง, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานบุคคล
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาและแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการกันบุคคลไว้เป็นพยานในคดีอาญา โดย (2) ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ หรือขอบเขตของการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการเลือกบุคคลที่จะได้รับการกันไว้เป็นพยาน การยกเลิกกระบวนการรกันบุคคลไว้เป็นพยาน คุณค่า ในเชิงพิสูจน์ข้อเท็จจริงของพยานที่มาจากกระบวนการกันบุคคลไว้เป็นพยาน และกระบวนการควบคุมตรวจสอบถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจ โดย (3) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ หรือขอบเขตของการใช้ดุลพินิจกันบุคคลไว้เป็นพยานทั้งของต่างประเทศและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการศึกษาค้นคว้า โดยอาศัยวิธีการค้นคว้าและ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวบทกฎหมายต่างๆ ทั้งของไทยและกฎหมายของต่างประเทศ ตำราทางกฎหมาย บทความ รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์ เอกสารราชการ คำพิพากษาฎีกา และแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อทำการเก็บรวบรวม แยกแยะ และวิเคราะห์เพื่อทราบปัญหาและแนวทางปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป จากการศึกษาพบว่า (1) หลักเกณฑ์ หรือขอบเขตของการใช้ดุลพินิจในการเลือกบุคคลที่จะได้รับการกันไว้เป็นพยานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั้น ยังไม่รัดกุมชัดเจน (2) เนื่องจากไม่ได้กำหนดให้มีการยกเลิกกระบวนการกันบุคคลเป็นพยานไว้ (3) หลักเกณฑ์ในการคุ้มกันของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจในการคัดเลือกที่ละเอียดที่สุด โดยคำนึงถึงความเพียงพอของพยานหลักฐานและที่สำคัญมีการพิจารณาให้ความคุ้มกัน โดยคัดเลือกผู้กระทำความผิดจากสัดส่วนของการกระทำความผิด ความน่าเชื่อถือของพยาน และความคาดหมายว่าพยานจะสามารถเบิกความอันเป็น ประโยชน์แก่คดีได้รวมถึงประโยชน์ที่สังคมจะได้รับด้วย สำหรับประเทศอังกฤษ จะมีขอบเขตการใช้ดุลพินิจที่กว้างกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาโดยคำนึงถึงความเพียงพอของพยานหลักฐานและประโยชน์แห่งความยุติธรรม รวมถึงประโยชน์แห่งความปลอดภัย ของสังคมส่วนรวม และการได้รับข่าวสารมีความสำคัญมากกว่าการลงโทษบุคคลผู้กระทำหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ก็ให้มีการคุ้มกันจากการถูกฟ้องร้องคดีได้ นอกจากนี้ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การกันบุคคลไว้เป็นพยานในประเทศไทย จะพบว่าหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจคัดเลือกบุคคลไว้เป็นพยานของพนักงานอัยการจะมีขอบเขตในการใช้ดุลพินิจที่แคบที่สุด โดยกำหนดให้เลือกผู้กระทำความผิดน้อยที่สุดไว้เป็นพยาน โดยจะต้องคำนึงว่าคำให้การของผู้ถูกกันไว้เป็นพยานนั้นว่าจะเป็นความสัตย์จริงและจะเป็นประโยชน์แก่คดีโดยแท้จริง สำหรับพนักงานสอบสวน จะใช้ในคดีที่มีเหตุพิเศษ มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนร้ายแรง คนจำนวนมากพากันเกรงกลัว คดีที่เกิดขึ้นในที่ลี้ลับ โดยบุคคลอื่นไม่สามารถรู้เห็นได้นอกจากเป็นผู้กระทำผิดด้วยกัน หรือคดีที่มีการกระทำในรูปขบวนการ สำหรับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (คณะกรรมการ ป.ป.ท.) จะพิจารณาถึงพยานหลักฐานที่มีอยู่ว่าเพียงพอที่จะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดที่เป็นตัวการสำคัญหรือไม่ และพยานจะต้องไปเบิกความต่อศาลตามที่ให้การไว้เท่านั้น ดังนั้นผู้ศึกษาเห็นว่า ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ หรือกรอบการพิจารณาการกันบุคคลไว้เป็นพยานให้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงให้มีกระบวนการสำหรับยกเลิกการใช้มาตรการการกันบุคคลไว้เป็นพยาน เพื่อให้การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการเลือกบุคคลที่จะได้รับการกันไว้เป็นพยาน เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรมอย่างแท้จริง และเพื่อมิให้เป็นที่ครหาได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3909
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166514_ศิริวรรณ ทองคง.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons