กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3912
ชื่อเรื่อง: มาตรการการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Measures on declaration of assets and liabilities under the organic act on counter corruption
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรัชญา มาเอียด, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง--ไทย--การป้องกัน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอำนาจหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และศึกษาถึงมาตรการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... รวมทั้งศึกษาถึงปัญหามาตรการการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินรวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมมาตรการการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร ใช้ข้อมูลจากเอกสารเป็นหลักในการวิจัย อันได้แก่ เอกสารที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ อาทิเช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ คำสั่งและมติของ ป.ป.ช. และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง และเอกสารที่เป็นข้อมูลทุติยภูมิ อาทิ เช่น วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความ รายงานการวิจัย รายงานผลการปฏิบัติการประจำปี ตลอดจนข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า มาตรการนี้มีความมุ่งหมายต้องการให้เกิดความโปร่งใสของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงหลักการที่สำคัญอย่างอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นหลักความคุ้มค่า หลักประโยชน์สาธารณะ และที่สำคัญต้องไม่เป็นการสร้างภาระเกินความจำเป็นแก่เจ้าหน้าที่รัฐจนเกินไป ดังนั้น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินนั้น ควรมีการแบ่งแยกประเภทโดยวิเคราะห์ถึงตำแหน่งที่มีความสำคัญและสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริต เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระแก่ข้าราชการระดับล่างเกินความจำเป็น นอกจากนี้ยังพบว่ามาตรการดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควร หากต้องการให้มีผลประสิทธิภาพของมาตรการ ควรแก้ปัญหาที่ระบบการตรวจสอบมากกว่า อันได้แก่ วิธีการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ไม่ควรใช้วิธีตรวจสอบทุกบัญชี แต่ควรมีการเปิดเผยให้สาธารณะชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ รวมทั้งข้อมูลที่จะต้องแสดงในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ควรกำหนดเพิ่มในส่วนการแจ้งข้อมูลผลประโยชน์ และการเข้าไปลงทุนหรือมีส่วนร่วม เพื่อตรวจสอบเรื่องการขัดกันของผลประโยชน์ด้วย โดยนำระบบการตรวจสอบทรัพย์สินของสาธารณรัฐจอร์เจียและเขตบริการพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มาปรับปรุงให้เหมาะสมกับระบบตรวจสอบทรัพย์สินของไทย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3912
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons