กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3916
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการเลือกชำระค่าใช้จ่ายผ่านช่องทางการรับชำระเงินของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors influencing the selection of cash payment through payment channel in Ubon Ratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย อนรรฆนงค์ พรหมนาค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์ วิเชียร เลิศโภคานนท์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ การชำระเงิน--ไทย--อุบลราชธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกชำระค่าใช้จ่ายผ่านช่องทาง การรับชำระเงินของประชาชน (2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการช่องทางการรับชำระเงินของประชาชน (3) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการช่องทางการรับชำระเงินของประชาชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่อาศัยหรือทำงาน อยู่ในเขตอำเภอต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีที่ชำระค่าใช้จ่ายตามใบแจ้งหนี้ผ่านช่องทางการรับชำระเงิน จำนวน390 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ใด้แก่ ค่าความถี่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกช่องทางการรับชำระเงินในระดับมากจากสิ่งกระตุ้นทางการตลาด คือ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการเรื่องการบริการที่สะดวกรวดเร็ว จากสิ่งกระตุ้นอื่นๆคือปัจจัยด้านเทคโนโลยีเรื่องการนำระบบคอมพิวเตอร์ แถบบาร์โค้ดมาใช้ในการให้บริการ (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-39 ปี สมรสแล้ว มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับราชการ มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ปัจจุบันใช้บริการเคาน์เตอร์รับชำระเงินของหน่วยงานหรือบริษัทผู้ออกใบแจ้งหนี้เพื่อชำระค่าสาธารณูปโภคมากที่สุด เพราะว่ามีความเชี่อมั่นในการบริการที่ได้รับกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกใช้บริการช่องทางการรับชำระเงินหลากหลายช่องทางขึ้นอยู่กับความสะดวก โดยชำระค่าใช้จ่ายครั้งละสองประเภทขึ้นไปและชำระเงินกายในวันเวลาที่ระบุตามใบแจ้งหนี้ผลการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายใน สิ่งกระตุ้นทางการตลาดและสิ่งกระตุ้นอื่นๆ กับการเลือกใช้บริการช่องทางการรับชำระเงินพบว่า ปัจจัยภายใน คือ ลักษณะส่วนบุคคลได้แก่ อายุ สถานภาพสมรสระดับการศึกษา อาชีพและรายได้มีความสัมพันธ์กับการเลือกช่องทางการรับชำระเงิน สิ่งกระตุ้นทางการตลาดเรื่องการให้คิดค่าธรรมเนียม การนำระบบบัตรคิวมาใช้ในการให้บริการและสามารถตรวจสอบประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าได้ มีความสัมพันธ์กับการเลือกช่องทางการรับชำระเงินสิ่งกระตุ้นอื่นๆ เรื่องการเพื่มขึ้นของราคาน้ำมัน มีความสัมพันธ์กับการเลือกช่องทางการรับชำระเงิน (3) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีปัญหาและอุปสรรคเรื่องค่าธรรมเนียมในการใช้บริการมึอัตราค่อนข้างสูง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3916 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
102065.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License