กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3934
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นมผงในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problem concerning provision of information of powdered milk products in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรพรรณ เหงี่ยมไพศาล, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลิตภัณฑ์นมผง
ข้อมูล
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับกฎหมายการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นมผงในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ และพระราชบัญญัติการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นมผง ในประเทศไทยให้มีความชัดเจนและยุติธรรมมากที่สุด การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการค้นคว้าจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลทางสื่อสารสนเทศ โดยข้อมูลและเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องนำมาเพื่อใช้ในการอ้างอิงและเรียบเรียงขึ้น ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก และเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ถือเป็นความสำเร็จในการผลักดันให้มีกฎหมายควบคุมการโฆษณานมผงในประเทศไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า “นมแม่” มีประโยชน์มากที่สุด แม้ “นมผง” จะมีสารอาหาร ที่มีประโยชน์แต่ก็ไม่เทียบเท่านมแม่ แต่พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการส่งเสริมการตลาดหรือการโฆษณาที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารกของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายหรือตัวแทนเท่านั้น ควรมีการแก้ไขโดยเพิ่มคำนิยามคำว่าการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมผง บทบัญญัติความผิดและบทกำหนดโทษสำหรับการกระทำผิดของบุคลากรด้านสาธารณสุขด้วย อย่างไร ก็ตาม นอกจากจะใช้กฎหมายมาควบคุมการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์นมผงแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องนำมาใช้ร่วมกับกฎหมาย คือ ข้อบังคับที่กำหนดเป็นแนวทางในการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรด้านสาธารณสุข ได้แก่ จรรยาบรรณของบุคลากรด้านสาธารณสุข ก็จะทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3934
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons