Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3938
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพัชรี พันธ์รอด, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-10T06:39:09Z-
dc.date.available2023-03-10T06:39:09Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3938-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาจากเอกสารโดยการรวบรวมเอกสาร กฎหมายต่าง ๆ ระเบียบปฏิบัติของหน่วยราชการ และตรวจสอบจากวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนสำคัญ ดำเนินการศึกษาค้นคว้ามาตรการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Content Analysis) เกี่ยวกับปัญหาการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผลการศึกษาพบว่า การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของประเทศไทย ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2532 กำหนดอำนาจการจัดซื้อที่ดินเอกชนของ ส.ป.ก. ไว้อย่างจำกัดให้จัดซื้อได้เฉพาะในท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้วเท่านั้น จึงควรเพิ่มเติมให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อที่ดินนอกเขตปฏิรูปที่ดินได้ และดำเนินการบังคับเวนคืนที่ดินจากเจ้าของที่ถือครองเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอย่างจริงจัง เพื่อนำที่ดินมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยกเลิกระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้ความยินยอมในการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. 2541 เนื่องจากเป็นการออกกฎโดยใช้อานาจเกินกว่าที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ และจัดประเภทของการใช้ประโยชน์ในที่ดินเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การที่เกษตรกรผู้ได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 แต่ต่อมาไม่ประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมอีกต่อไป เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจนไม่อาจประกอบเกษตรกรรมต่อไปได้และไม่มีทายาทที่จะสืบสิทธิในที่ดิน กฎหมายกำหนดให้ต้องสิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน จึงสมควรกำหนดมาตรการในการจ่ายค่าชดเชยเพื่อความเป็นธรรม และป้องกันการซื้อขายสิทธิ ส.ป.ก.4-01 โดยฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย ตลอดจนไม่มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตกทอดทางมรดกในกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้รับโอนจาก ส.ป.ก. เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการจัดที่ดินให้แก่ผู้มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรเท่านั้น และไม่ประสงค์ให้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยจนไม่เหมาะสมต่อการประกอบเกษตรกรรม จึงต้องกำหนดทายาทไว้แตกต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ปัญหาดังกล่าวทำให้การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังไม่บรรลุผลสมดังเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของการประกาศใช้บังคับกฎหมายดังกล่าว จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการปฏิรูปที่ดิน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมth_TH
dc.title.alternativeThe application of the law on the reform of agricultural landen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study on the application of the law on the reform of agricultural land aims to study the meaning, idea, theory, history of agricultural land reform and legal measures concerning agricultural land reform of Thailand and other countries. It also intends to analyze the problems arising from the enforcement of agricultural land reform law and suggests solutions to solve and improve such problems. This study is a qualitative study which was conducted by literary review of documents, laws, regulations and past studies on the topic. Afterwards, an examination of enforcement of agricultural land reform law and content analysis of the problems arising from the enforcement of such law was conducted. The study has found that agricultural land reform in Thailand is carried out under the agricultural land reform act of 1975 and the law was revised twice in 1976 and 1989. The agricultural land reform act gives Agricultural Land Reform Office (ALRO) a limited purchasing power of private land. Only lands in the area that are declared by a royal decree as land reform area can be purchased. The study proposed that the law should be amended to allow ALRO to have the purchasing power outside the land reform area. It also proposed that the expropriation of lands from owners who own more land than the law allowed should be enforce more seriously in order to effectively re-allocate such land to other farmers without land. Apart from that, the regulation of agricultural land reform committee on allowing exploitation of natural resources in the land reform area for the benefit of other laws (1998) should be dismissed as it does not comply with the power of the parent law to pass such regulation. The classification of land use should be revamped to be more appropriate. According to the law, the right to land under the land reform law shall be dismissed for farmers who no longer wish to engage in agriculture or who, without heir to inherit such right, can no longer pursue agriculture due to illness, disability or death. Therefore, there should be an adoption of measures to compensate for fairness and prevent land trading in violation of the law. In addition, there is no regulation that set the rules, procedures and conditions on inheriting land ownership as the intention of the law only wants to allocate the land to qualified farmers. It also does not wish the land to be divided into smaller plots that are not suitable for agriculture. As a result, unlike the Civil and Commercial Code, there should be a different definition of the word ‘heir’ in the agricultural land reform law. To conclude, these problems have barred the agricultural land reform law from being as effective as the law intent to, consequently the law needs to be amended to be more appropriate and effectiveen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons