Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4071
Title: บทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการกำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
Other Titles: The role of The National Anti-Corruption Commission in monitoring moral and ethics of persons holding political positions
Authors: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พุทธา ศรีคำภา, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ--ภาระงาน
จริยธรรมการเมือง
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง
นักการเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความหมายของคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) ศึกษาถึงบทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (3) ศึกษาหลักการที่เกี่ยวกับกำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้มีกลไกบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพสังคมและการเมืองของไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการการวิจัยเอกสาร จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย บทความ เอกสารราชการ และสิ่งพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษาข้อมูลจากเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต จากการศึกษาพบว่า กระบวนการร้องเรียนคำร้องกรณีการฝ่าฝืนคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อผู้ตรวจการแผ่นดินก่อนส่งเรื่องหรือไม่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปนั้นเป็นกระบวนการที่สำคัญ แต่ยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดขั้นตอนและวิธีการในการตรวจสอบและพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวของผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำให้การดำเนินการตามกลไกลการตรวจสอบหรือการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการฝ่าฝืนคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่มีผลในทางปฏิบัติ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจออกระเบียบหรือข้อบังคับกำหนดขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบและพิจารณาความถูกต้องครบถ้วนของคำร้องการฝ่าฝืนคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้การตรวจสอบคำร้องและการบังคับใช้กฎหมายให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4071
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons