Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/412
Title: | การทำลายฤทธิ์ยากลุ่มเพนนิซิลลินในกากของเสียจากโรงงานผลิตยา |
Authors: | ศริศักดิ์ สุนทรไชย นิรมล ล้วนรัตนากร, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมทรง อินสว่าง อาภาพรรณ ทองบุญรอด |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เพนนิซิลลิน โรงงาน--การกำจัดของเสีย |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการทำลายฤทธิ์ยาด้วยวิธีทางกายภาพ เคมี และชีวภาพต่อตัวยาอะม็อกซิซิลลินกับกากของเสียที่ปนเปื้อนตัวยาอะม็อกซีซิลลิน หรือตัวเคล็อกซาซิลลินกับกากของเสียทีปนเปื้อนตัว เคล็อกซาซิลลิน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงทดลองนี้คือ ตัวยาอะม็อกซิซิลลิน ตัวยาหลอกซาซิลลิน ผลิตภัณฑ์ชนิดแคปซูลของตัวยาอะม็อกซิซิลลินและคลอกซาซิลลิน ผลิตภัณฑ์ชนิดผงแห้งสำหรับละลายน่ารับประทานของตัวยาอะม็อกซิซิลลินและคลอกซาซิลลิน วิธีทำลายฤทธิ์ยา ได้แก่ การใช้ไออากาศร้อนแห้งที่อุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส การใช้ไอน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 12 องศาเซลเซียส การใช้ต่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ การใช้เอนไซม์เพนนิซิลลิเนส และการเจือจางฤทธิ์ยาด้วยน้ำ หาปริมาณฤทธิ์ยาทั้งก่อนและหลังทำลายฤทธิ์ด้วยวิธีอะการ์ดิฟฟิวชั่น โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ทดสอบฤทธิ์ยาเป็น Micrococcus luteus ATCC 934 ปริมาณฤทธิ์ยาเทียบเป็นหน่วยยูนิตของสารมาตรฐานเพนนิซิลลิน ปีต่อน้ำหนักมิลลิกรัมของตัวยาอะม็อกซิซิลลินหรือ คล็อกซาซิลลิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาณฤทธิ์ยา และค่าร้อยละเฉลี่ยของปริมาณฤทธิ์ยาที่เหลืออยู่เทียบกับปริมาณฤทธิ์ยาเริ่มต้น ผลการวิจัยพบว่า การทำลายฤทธิ์ยาด้วยวิธีทางกายภาพ เคมีและชีวภาพต่อตัวยาอะม็อกซิซิลลินกับกากของเสียที่ปนเปื้อนตัวยาอะบอกซิซิลลิน หรือตัวยาคลอกซาซิลลินกับกากของเสียที่ปนเปื้อนตัวยาคลอกซาซิลลิน มีผลทำให้ปริมาณฤทธิ์ยาลดลงจากเดิม ยกเว้นการทำลายฤทธิ์ยาด้วยการใช้ไอน้ำร้อนที่ อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ต่อด้วยเคล็อกซาซิลลิน ปริมาณฤทธิ์ยาที่เหลืออยู่น้อยกว่าจํากัดการตรวจวัดของวิธีวิเคราะห์ กากของเสียชนิดผงแห้งสำหรับละลายน่ารับประทานที่มีตัวยาคล็อกซาซิลลินมีค่าร้อยละเฉลี่ยของปริมาณฤทธิ์ยาที่เหลืออยู่เป็น 0.1199 ค่าร้อยละเฉลี่ยของปริมาณฤทธิ์ยาที่เหลือของตัวยาอะม็อกซีซิลลินและกากของเสียชนิดแคปซูลของตัวยาอะม็อกซิซิลลินหลังการทำลายฤทธิ์ด้วยการใช้เอนไซม์เพนนิซิลลิเนสเปน 0.0001 และ 0.0062 ตามลำดับ เนื่องจากส่วนประกอบอื่น ๆ ในกากของเสียมีผลทําให้การทําลายฤทธิ์ยายากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/412 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License