Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4167
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorมยุรี มังคลาด, 2519--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-14T02:39:40Z-
dc.date.available2023-03-14T02:39:40Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4167-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการนำเหตุในลักษณะคดีอาญามาบังคับใช้กับคู่กรณีซึ่งมิได้เป็นคู่กรณีในคดีปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุในลักษณะคดีอาญาของไทย และต่างประเทศ แนวคิด การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครอง ทฤษฎีความรับผิดทางละเมิด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในลักษณะคดีอาญา รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาการพิจารณาการกระทำทางอาญา และการกระทำทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาจากการนำเหตุในลักษณะคดีอาญามาบังคับใช้กับคู่กรณี ซึ่งมิได้เป็นคู่กรณีในคดีปกครอง การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งจะค้นคว้าข้อมูลทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิ จากตำราเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยและข้อมูลจากเว็บไซต์ ตลอดจนทำการศึกษาจากตัวบทและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 70 ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นหนึ่งในสามที่ต้องรับผิด ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งทางปกครองที่เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และศาลปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดเพียงขั้นประมาทเลินเล่อเท่านั้น จึงมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ฟ้องคดีเป็นฝ่ายชนะคดี ซึ่งมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีปัญหาในเรื่องความเป็นธรรมจากผลของคำพิพากษา ซึ่งแตกต่างจากคดีอาญา คือ เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดีเดียวกันผู้กระทำผิดจะได้รับผลจากการกระทำผิดนั้นด้วยกันทุกคน แต่ผู้ต้องรับผิดที่เหลือซึ่งมิได้ฟ้องคดียังต้องรับผิดจากพฤติการณ์ในเหตุเดียวกันตามคำสั่ง โดยไม่เป็นธรรม เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกสองคนที่ได้รับคำสั่ง ไม่ได้ฟ้องคดี ก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากคำพิพากษาศาลปกครอง ทั้งที่ความรับผิด เกิดจากมูลเหตุในลักษณะคดีเดียวกัน การพิจารณาจึงควรเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น เห็นควรแก้ไขอำนาจของศาลปกครองในการสั่งให้คำพิพากษามีผลผูกพันบุคคลภายนอก คือ “ในคดีซึ่งผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ซึ่งเรียกให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งทางปกครองหลายคนในความผิดที่ได้กระทำร่วมกัน และเป็นความผิดในเรื่องเดียวกัน โดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน ถ้าศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองทั้งหมดหรือบางส่วน แม้ผู้อยู่ภายใต้บังคับทางปกครองคนอื่นจะไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องคดี หากพฤติการณ์ของผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีเป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้ฟ้องคดีแล้ว ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวมีผลผูกพันผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องคดีในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้ฟ้องคดีด้วย”th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectวิธีพิจารณาคดีปกครองth_TH
dc.subjectความผิดทางอาญาth_TH
dc.subjectวิธีพิจารณาความอาญาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการนำเหตุในลักษณะคดีอาญามาบังคับใช้กับคู่กรณีซึ่งมิได้เป็นคู่กรณีในคดีปกครองth_TH
dc.title.alternativeUsing the circumstances relation to the nature of the offence in criminal case to enforce in administrative caseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study are studying about the circumstances relation to the nature of the offence in criminal case of Thailand and foreign countries, the concept of proceeding in Administrative case including the theories of tortious liability and the other related law about that subject. Moreover, this independent study analyzes the problems about criminal act and wrongful act committed by government officers and also recommend to solve the problem that should be led the circumstances relation to the nature of the offence in criminal case to enforce in administrative case. The method of the study is a qualitative research that uses documentary research by analyzing the primary and secondary documents from textbooks, books, scholarly documents, research papers and others information from websites including content and spirit of laws concerning Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999), sections 70. This independent study found that the government officer, who has one of three of the check-employment committee that has liable for wrongful acts, impleads the government’s agency at Administrative Court and the Court examines the probative facts and believes that this litigant did the mistaken duties by negligence so the Court judges to giving the government’s agency revoke that order. This judgement is difference from criminal case, the culprits have received the benefit from circumstances relating to nature of offence while the judgement of Administrative case will be only binding only the parties who implead according to section 70 of Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999). So, it is not fairness to the others ‘committee who didn’t implead will not get interest for this judgement although this issue is relation to nature of offence. Thus, the author recommended to amending the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999) by adding the power of Administrative Court to order that their judgement can binging the government officers who did not implead for circumstances relation to nature of offence case. The provision is “In the case of the litigant implead to Administrative Court for revoke the administrative order and there are many government officers who have liable for wrongful acts in same case and same behaviors do not implead. Later, if the Court judge to revoking the whole or some part of the administrative order, that judgement shall binds to the other person that do not use the right to impleading for take this advantage of circumstances relation to nature of offence case, too.”en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons