กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4170
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between organizational health and student quality of secondary schools under the Office of Surat Thani Educational Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา ภัสสรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภูริพัฒน์ บุญมา, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สุขภาพองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
นักเรียนมัธยมศึกษา--ไทย--สุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 (2) เปรียบเทียบสุขภาพองค์การของโรงเรียนดังกล่าวตามขนาดของโรงเรียน และ (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนดังกล่าวประชากร ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 จำนวน 17 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู 229 คน เครื่องมือที่ใชัในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดสุขภาพองค์การแบบมาตรประมาณค่า ประกอบด้วยมิติสุขภาพองค์การ 7 มิติ คือ ความเข้มแข็งขององค์การ อิทธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารแบบมิตรสัมพันธ์ การบริหารแบบกิจสัมพันธ์ การสนับสนุนทางทรัพยากร ขวัญในการปฏิบัติงาน และการมุ่งเน้นวิชาการ และ (2) แบบบันทึกคะแนนคุณภาพผู้เรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐานเปอร์เซนไทล์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว คะแนนมาตรฐานสุขภาพองค์การ และ ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย การทดสอบสมมติฐานใช้ระดับความมีนัยสำคัญ.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 มีสุขภาพองค์การระดับปานกลาง (2) โรงเรียนดังกล่าวที่มีขนาดต่างกัน มีสุขภาพองค์การไม่แตกต่างกัน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนดังกล่าว พบว่า ความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรของผู้เรียนสัมพันธ์กับสุขภาพองค์การโดยรวม มิติความเข้มแข็งขององค์การ และมิติการด้านการสนับสนุนทรัพยากร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4170
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_129453.pdf4.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons