Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4191
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรัศมะณี โปร่งภูเขียว, 2512--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-14T04:04:59Z-
dc.date.available2023-03-14T04:04:59Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4191-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคร้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณและแนวคิดของการขัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี ความเป็นอิสระเกี่ยวกับงบประมาณขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญตามหลักสากล (3) ศึกษาปัญหาการขอรับและการจัดสรรงบประมาณขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาของการขอรับและการจัดสรรงบประมาณขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การศึกษาค้นคว้าอิสระเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลแบบวิจัยแบบเอกสาร (Documentary Research) อันได้แก่ ตัวบทกฎหมายประกอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบ และข้อบังคับ ตำราวิชาการ วารสารกฎหมาย บทความ คำพิพากษา คำวินิจลัยของศาล จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่จัดตั้งองค์กรอิสระกำหนดให้เสนองบประมาณไปยังคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเสนอความเห็นไปยังรัฐสภา ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะมีสำนักงบประมาณวิเคราะห์ให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี และการพิจารณาของรัฐสภา ก็มักจะเป็นไปตามความเห็นของคณะรัฐมนตรี องค์กรอิสระได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะให้เสนอคำขอแปรญัตติโดยตรงต่อคณะกรรมาธิการ กรณีดังกล่าวไม่ชัดเจนว่าคณะกรรมาธิการจะแปรญัตติปรับเพิ่มงบประมาณให้แก่องค์กรอิสระหรือไม่ และความเพียงพอนั้นยังไม่ชัดเจนว่าอย่างไรจึงจะเพียงพอ การเก็บงบประมาณเหลือจ่ายไว้ใช้ปีต่อไป โดยยกเว้นไม่ต้องคืนคลังนั้น กำหนดยกเว้นโดยระเบียบเท่านั้น ดังนั้น ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการปรับลดงบประมาณของคณะรัฐมนตรีในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และในการเสนอของบประมาณขององค์กรอิสระที่มีรายได้หรือมีงบประมาณเหลือข่ายนั้นต้องแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ และในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการควรบัญญัติถึงอำนาจของคณะกรรมาธิการให้ชัดเจนและในการพิจารณางบประมาณของคณะกรรมาธิการนั้น การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอควรพิจารณาถึงบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระและพิจารณาถึงวงเงินงบประมาณโดยรวมของประเทศ สำหรับการยกเว้นไม่ต้องนำงบประมาณเหลือข่ายหรือรายไต้ส่งคลังควรนำมาบัญญัติยกเว้นไว้ในกฎหมายที่จัดตั้งองค์กรอิสระนั้น ตลอดจนควรให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการขอรับและการจัดสรรงบประมาณขององค์กรอิสระให้เป็นอิสระอย่างแท้จริงตามหลักสากลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectองค์กรอิสระ--งบประมาณth_TH
dc.titleการขอรับและการจัดสรรงบประมาณขององค์กรอิสระth_TH
dc.title.alternativeRequisition and allocation of the budget of the independent organsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons