Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4232
Title: | ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ที่มีต่อการใช้เว็บไซต์สนทนาทางอินเทอร์เน็ต |
Other Titles: | Opinions of secondary level students at Khema Siri Memorial School toward the use website chatting via the internet |
Authors: | ทิพย์เกสร อยู่อำไพ สุพรรณี สรรพทรัพย์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี กลุ่มสนทนาออนไลน์ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สนทนาทาง อินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ (2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ที่มีต่อการใช้เว็บไซต์สนทนาทางอินเทอร์เน็ตกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ จำนวน 316 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สนทนาทางอินเทอร์เน็ตนักเรียนส่วนใหญ่ รู้จักและใช้เว็บไซต์สนทนามากกว่า 3 ปี สัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง เวลาเฉลี่ยในการใช้ครั้งละ 1 - 3 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ใช้บ่อยที่สุดคือ 16.01 - 20.00 น. โดยใช้คอมพิวเตอร์จากที่บ้าน นักเรียนส่วนใหญ่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง รู้จักเว็บไซต์สนทนาจากการศึกษาด้วยตนเอง เหตุผลที่ใช้เว็บไซต์สนทนาเพราะอยากลอง ชื่อที่ใช้ในการสนทนาคือชื่อที่แสดงความเป็นตัวตนหรือฉายาโดย ใช้ผ่าน MSN/Windows Live Messenger ซึ่งจะใช้สนทนากับเพื่อน เรื่องที่สนทนาส่วนใหญ่คือ เรื่องทั่ว ๆ ไป กิจกรรมที่ทำขณะใช้เว็บไซต์สนทนาคือการฟังเพลง การตอบทำถามกับคู่สนทนา จะตอบจริงบ้างไม่จริงบ้างและจะยุติการสนทนาธรรมดาโดยที่ไม่นัดคู่สนทนาในครั้งต่อไป (2) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้เว็บไซต์สนทนาทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยมีความคิดเห็นอยู่ในระด้บดี โดยด้านอารมณ์เห็นว่าช่วยลดความเครียดจากการเรียนหรือการทำงานดี ด้านความพึงพอใจเห็นว่ามีความหลากหลายของข้อมูลดี ด้านการปฏิสัมพันธ์เห็นว่าทำให้ได้รู้จักกลุ่มคนที่หลากหลาย และด้านการออกแบบเว็บไซต์มีการวางเนี้อหาดูสบายตาและอ่านง่าย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4232 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_127622.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License