Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4242
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรวลัญช์ โรจนพล | th_TH |
dc.contributor.author | พิชัย ขันโททอง, 2523- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-14T08:21:12Z | - |
dc.date.available | 2023-03-14T08:21:12Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4242 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) บทบาททางการเมืองของนักการเมืองและกลุ่มทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่มีต่อการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และ (2) ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ก่อนปี พ.ศ.2554 ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาททางการเมืองของนักการเมืองและกลุ่มทางการเมืองในจังหวัดบึงกาฬที่มีต่อการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ ด้านโครงสร้าง และด้านกระบวนการ ด้านโครงสร้างแบ่งเป็น การเชื่อมประสานในแนวดิ่งและการเชื่อมประสานในแนวนอน การเชื่อมประสานในแนวดิ่ง ได้แก่ รัฐบาล คือ การเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และการเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ระบบราชการ คือ การทาหน้าที่สารวจความเห็นของประชาชนในพื้นที่และข้อมูลพื้นฐานเสนอรัฐบาล พรรคการเมือง คือ การขอให้พรรคที่ตนสังกัดหรือสนับสนุนช่วยผลักดัน และประชาชน คือ การให้ข้อมูลข่าวสารและกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการตื่นตัว การเชื่อมประสานในแนวนอน ได้แก่ การประสานระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มทางการเมืองอื่น ส่วนในด้านกระบวนการได้แก่ การให้ข้อมูลข่าวสารและการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการตื่นตัว และการล็อบบี้นักการเมืองและกลุ่มทางการเมืองอื่น (2) ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ก่อนปี พ.ศ.2554 พบว่า ด้านโครงสร้างได้แก่ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย ยังไม่ทันสมัยและไม่ได้รับการแก้ไข รัฐบาลไม่มีนโยบายในการจัดตั้งจังหวัดเพิ่ม และความไม่พร้อมในด้านต่าง ๆ ส่วนปัญหาด้านตัวบุคคล ได้แก่ นักการเมืองและกลุ่มทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ไม่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับผู้มีอานาจระดับสูงทางการเมือง การขาดเอกภาพในการรวมกลุ่ม และการขาดอานาจในการต่อรองกับกลุ่มทางการเมืองอื่น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | จังหวัดบึงกาฬ--แง่การเมือง | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การเมืองของการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ | th_TH |
dc.title.alternative | Politics of establish Bung Kan Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
125798.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License