Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4251
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ วัฒนกลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอาเร็ง รอแม, 2520-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-14T09:14:37Z-
dc.date.available2023-03-14T09:14:37Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4251en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศูนย์วิทยบริการของอาจารย์ผู้สอนและ นักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัย จำนวน 242 คน และกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษา จำนวน 359 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีความต้องการ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยภาพรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณาความต้องการรายด้านทั้ง 7 ด้าน พบว่า อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามีความต้องการมากทุกด้าน คือ (1) ด้านกรอบการดำเนินงานควรจัดตั้งศูนย์วิทยาบริการ โดยกำหนดปรัชญา คือ พัฒนาสื่อการสอน พัฒนาอาจารย์เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและงานวิจัย ปณิธาน คือ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อการศึกษา พันธกิจคือ เป็นแหล่งรวบรวมสื่อทุกชนิด ทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย โดยประโยชน์ที่ได้จากศูนย์ วิทยบริการ คือ การเพิ่มพูนความรู้แก่ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาของมหาวิทยาลัย (2) ด้านอาคารสถานที่ควร จัดสร้างอาคารขึ้นใหม่ โดยมีอาคารเป็นเอกเทศ (3) ด้านการจัดหน่วยงาน ประกอบด้วย 3 งาน คือ งานธุรการควร จัดให้มีงานด้านการเงินและงบประมาณ งานวิชาการควรจัดให้มีงานด้านสำเนาและบริการสื่อชุดการสอน และ งานบริการควรจัดให้มีงานด้านผลิตและบริการสื่อสิ่งพิมพ์ (4) ด้านบุคลากรของศูนย์ ควรดำเนินการคัดเลือกและ โอนย้ายอาจารย์ในอัตราใหม่ มีความต้องการหัวหน้าธุรการ โดยเน้นตำแหน่งหัวหน้าแผนกเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา หัวหน้างานผลิตและบริการสื่อการศึกษา และนายช่างอิเล็กทรอนิกส์ (5) ด้านบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย 3 งาน คือ งานบริหารควรเน้นบทบาทหน้าที่ด้านการประชาสัมพันธ์งานให้กับหน่วยงานทั้ง ภายนอก/ภายใน งานวิชาการควรเน้นบทบาทหน้าที่ด้านออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน งานบริการ ควรเน้นบทบาทหน้าที่ด้านการบำรุงรักษาและซ่อมแซมสื่อการศึกษา วัสดุอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนให้ใช้งาน ได้ตลอดเวลา (6) ด้านการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของอาจารย์ผู้สอน ควรเน้นศูนย์วิทยบริการช่วยแก้ไขปัญหา ความรู้และทักษะในการใช้สื่อการสอน ช่วยแก้ปัญหาการเสียเวลาเตรียมสื่อการสอน สภาพห้องเรียนที่ไม่ เอื้ออำนวยให้ใช้สื่อการสอนและช่วยแก้ปัญหาการขาดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องในการผลิตสื่อการสอน และ (7) ด้าน สื่อการศึกษาและการบริการควรจัดหาตำรา วารสาร วีดิทัศน์/วีซีดี/ดีวีดี แหล่งวัสดุอุปกรณ์และแหล่งสื่อการสอน ใหม่ๆ การบริการควรจัดเตรียมห้องประชุมสัมมนาคู่มือการใช้งาน แบบเรียน ของจริง บทเรียน อีเลิร์นนิ่ง ชุดการ สอนแบบกิจกรรม เครื่องฉายวีดีโอโปรเจคเตอร์ และสามารถยืมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ศูนย์วิทยบริการ --ความพอใจของผู้ใช้บริการth_TH
dc.titleความต้องการศูนย์วิทยบริการของอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์th_TH
dc.title.alternativeThe needs for learning resource service center of instructors and students of Princess of Naradhiwas Universityth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_128687.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons