Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4280
Title: การกำกับดูแลนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยนายอำเภอ
Other Titles: Supervision of president of sub-district administrative oganization by chief district officer
Authors: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยา ฝั้นคำอ้าย, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
นายอำเภอ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
การปกครองท้องถิ่น
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การกำกับดูแลนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยนายอำเภอมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี การกำกับดูแล และปัญหา อุปสรรคในการกำกับดูแลนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีการวินิจฉัยของนายอำเภออันมีผลให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ว่า มีความเหมาะสมและความสอดคล้องกับ หลักความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสภาพสังคมปัจจุบันหรือไม่ เพื่อที่จะเสนอแนวทางการกำกับดูแล และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการวิจัยทางเอกสาร (Docummentary Research) จากตำรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายคำพิพากษา และสภาพปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ให้อำนาจนายอำเภอกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบลโดยคำวินิจฉัยมีผลให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งค่อนข้างรุนแรง และข้อกฎหมายไม่ชัดเจน ทำให้การใช้ดุลพินิจค่อนข้างกว้างขวาง เกิดปัญหาการบังคับใช้ อีกทั้งเนื้อหาของบทบัญญัติดังกล่าวไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในการกำกับดูแลในสังคมปัจจุบัน และความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเสนอแนะสองแนวทาง แนวทางแรก คือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 58/1 วรรคหนึ่ง (3) กรณีที่วินิจฉัย “พฤติกรรมในทางทุจริต” โดยองค์กรศาล หรือปปช. เป็นผู้วินิจฉัยแทนการวินิจฉัยของนายอำเภอ และเพิ่มเติมมาตรา 64/2 วรรคหนึ่ง (3) ข้อความว่า “และก่อความเสียหายแก่ทางราชการ” เพื่อขยายความผู้มีส่วนได้เสีย “ทางอ้อม” ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยมีกรอบชัดเจนมากยิ่งขึ้น แนวทางที่สอง แก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง (4) โดยเปลี่ยนคำว่า “การควบคุมดูแล” เป็นใช้คำว่า “การกำกับดูแล” แทน และแก้ไขกฎหมายมาตรา 64 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เป็น “ให้นายอำเภอดำเนินการสอบสวนโดยเร็วในกรณีที่ผลการสอบสวนปรากฏว่าความเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสิ้นสุดลงตาม (4) หรือ (5) แล้วเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง”
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4280
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons