Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4307
Title: ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: The problem of personnel management of Local Governments
Authors: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิรัช บัวคง, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารงานบุคคล
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและการพัฒนาการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 ศึกษาสภาพปัญหาระบบการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ศึกษาวิเคราะห์เจตนารมณ์ในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2560 ประกอบกับหลักการบริหารงานบุคคลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจและหลักคุณธรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลจากตำรา หนังสือ กฎหมาย เอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานราชการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 15 และมาตรา 23 มีเจตนารมณ์ตามหลักการกระจายอำนาจทางปกครองตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้กระบวนการสรรหาบุคลากรมาดำรงตำแหน่งในสายงานผู้บริหารเป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น ในขณะเดียวกันต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามหลักคุณธรรม อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติผู้บริหารท้องถิ่นบางแห่งได้ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเข้ามาแทรกแซงชี้นำในกระบวนการสรรหาโดยอ้างว่าต้องเป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น ส่งผลให้กระบวนการสอบคัดเลือกและการคัดเลือกทั้งการเปลี่ยนสายงานและเลื่อนระดับให้สูงขึ้นกลับไปมีลักษณะเป็นระบบอุปถัมภ์ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นพวกพ้องตนเองหรือผู้ให้ผลประโยชน์ตอบแทนกับผู้บริหารท้องถิ่น โดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถและไม่เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะในขณะนี้จึงเห็นควรมีหน่วยงานกลางเป็นผู้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งบุคลากรในสายงานผู้บริหารโดยใช้ระบบคุณธรรม และหลักความรู้ ความสามารถ มาเป็นแนวทางในการคัดเลือกและสอบคัดเลือก จนกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลอย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4307
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons