กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/430
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการต่อการดำเนินงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์
ตรูตา มีธรรม, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมศักดิ์ บุตราช
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
นโยบายสาธารณสุข--ไทย
ผู้ป่วยนอก--ไทย--ศรีสะเกษ
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยประเภทสำรวจเชิงพรรณนาครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านสังคมประชากรการใช้บริการสุขภาพ และการสนับสนุนผู้ป่วยนอกที่มารับบริการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (2) ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมประชากร การใช้บริการสุขภาพ และการสนับสนุน กับความพึงพอใจของผู้ป่วย (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ของผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนอกที่มีสิทธิตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มารับบริการในโรงพยาบาลศรีสะเกษจำนวน 420 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เจาะลึกจำนวน 30 คน ในระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2545 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองซึ่งมีคำความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9540 และแบบสัมภาษณ์เจาะ ลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย การวิเคราะห์เนื้อหา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนแรงค์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 25 - 44 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนตํ่ากว่า 3,000 บาท ระยะเวลาเดินทางจากบ้านถึงโรงพยาบาลประมาณครึ่งชั่วโมง มารับบริการส่วนใหญ่เป็นช่วงเช้าระยะเวลาโดยรวมตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับบริการแล้วเสร็จประมาณ 2 ชั่วโมง แผนกที่มารับบริการส่วนใหญ่คือแผนกอายุรกรรม มารับบริการครั้งนี้เป็นครั้งแรกภายหลังเริ่มนโยบาย มีระดับความรู้ปานกลางเกี่ยวกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (2) ระดับความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดี (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ป่วย ได้แก่ ระดับการศึกษาช่วงเวลาในการรับบริการ และระดับความรู้เกี่ยวกับนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001,-05 และ .001 ตามลำดับ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการส่วนใหญ่เป็นด้านความสะดวกในการรับบริการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/430
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77209.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons