Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4316
Title: กฎหมายการชุมนุมสาธารณะกรณีประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ
Other Titles: Public assembly law the case of France and England
Authors: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีระวุธ ชัยชนะมงคล, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
สิทธิการชุมนุม--ฝรั่งเศส
สิทธิการชุมนุม--อังกฤษ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง กฎหมายการชุมนุมสาธารณะกรณีประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะและร่างกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของประเทศไทยที่มีการนำเสนอให้มีการตราขึ้นบังคับใช้ โดยเปรียบเทียบกับหลักการสากล และกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของต่างประเทศอันได้แก่ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการศึกษาว่าประเทศไทยควรจะมีการบัญญัติกฎหมายการชุมนุมสาธารณะหรือไม่ หากมีควรมีลักษณะเช่นใดที่น่าจะเหมาะสมที่สุด วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ตำรา เอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือการปฏิบัติการของหน่วยงานและเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการรักษาความสงบหรือ การจัดระเบียบการชุมนุมสาธารณะ บทความจากวารสารต่าง ๆ ข่าวจากหนังสือพิมพ์ และ สารสนเทศ บน Internet นำมาประมวลเป็นข้อมูลเพื่อทำการศึกษาวิจัย ผลการวิจัยพบว่า การชุมนุมสาธารณะโดยสงบและปราศจากอาวุธถือเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ แต่เนื่องจากการชุมนุมสาธารณะมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบหรือจลาจลขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายจัดระเบียบกำหนดให้ทุกฝ่ายอันได้แก่ ผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องร่วมกันรับผิดชอบควบคุมดูแลให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นที่ไม่ได้ร่วมการชุมนุมด้วย ส่วนในภาวะสงครามหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็จะมีกฎหมายพิเศษจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมขึ้นได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงของชาติหรือความปลอดภัยของประชาชนอันเป็นหลักสากลซึ่งประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษก็ได้นำหลักการนี้มาใช้ โดยได้ตรากฎหมายการชุมนุมสาธารณะโดยเฉพาะขึ้นบังคับใช้ โดยถือว่าสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมไม่ได้เป็นสิทธิสัมบูรณ์แต่เป็นสิทธิสัมพัทธ์ จึงเป็นสิทธิที่สามารถถูกจำกัดได้ ส่วนประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายการชุมนุมสาธารณะจึงใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั่วไปและกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเป็นกฎหมายเชิงยับยั้งและลงโทษทางอาญา ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ในการจัดระเบียบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปด้วยความสงบ สรุปสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมสาธารณะในประเทศไทยเป็นสิทธิที่ไม่มีการจำกัดหรือมีกฎเกณฑ์การจัดระเบียบในการชุมนุมไว้โดยเฉพาะซึ่งแตกต่างจากประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษที่ได้ตราเป็นกฎหมายขึ้น อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ควบคุมการชุมนุมมักถูกกล่าวหาว่าใช้กำลังต่อผู้ชุมนุมเกินกว่าความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน ข้อเสนอแนะเห็นควรให้มีการตรากฎหมายส่งเสริมการชุมนุมสาธารณะโดยสงบขึ้นโดยเป็นกฎหมายปกครองที่มีลักษณะเชิงป้องกันมาจัดระเบียบ วางหลักเกณฑ์ในการชุมนุมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเป็นไปตามหลักสากลในการบริหารความเสี่ยงร่วมกัน และกำหนดให้เจ้าหน้าที่ได้จัดทำคู่มือมาตรการการใช้กำลังต่อผู้ชุมนุมตามหลักสากลให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยรัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้รับรู้และยอมรับถึงความจำเป็นในการตรากฎหมายนี้มากกว่าที่จะเสนอตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 63 วรรคสอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4316
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons