Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/432
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ บุตราช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพรทิพย์ เกยุรานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุรพล ทรัพย์แก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอมตา จันทร์ปาน, 2513--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-10T09:38:56Z-
dc.date.available2022-08-10T09:38:56Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/432-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ด้านการบริหารงาน และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน กับผลการพัฒนาสถานีอนามัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยด้านบุคคล ด้านการบริหารงาน และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ระหว่างสถานีอนามัยที่พัฒนาสำเร็จกับสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สำเร็จ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษามี 2 กลุ่ม คือ สถานีอนามัยที่พัฒนาสำเร็จ 10 แห่ง และสถานีอนามัยที่พัฒนา ไม่สำเร็จ ตามเกณฑ์ประเมินผลของชมรมสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สำเร็จ ใช้ตัวอย่างที่ถูกสุ่มมาจำนวน 20 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยที่ศึกษา จํานวน 70 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ไคสแควร์ การทดสอบค่าที และการทดสอบแมนนวิทนีย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาสถานีอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ในเรื่องการอบรมดูงานเรื่องทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย และแรงจูงใจด้านสภาพการทำงาน ปัจจัยด้านการบริหารงานในเรื่องกระบวนการบริหารทุกด้าน แต่ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนไม่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาสถานีอนามัย (2) ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างสถานีอนามัยที่พัฒนาสำเร็จกับพัฒนาไม่สำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล โดยสถานีอนามัย บุคลากรได้รับการอบรมดูงานเรื่องทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัยได้พัฒนาสถานีอนามัยสำเร็จมากกว่าสถานีอนามัยที่บุคลากร ไม่ได้รับการอบรมดูงาน และบุคลากรของสถานีอนามัย พัฒนาสำเร็จ มีแรงจูงใจด้านสภาพการทำงานมากกว่าบุคลากรของสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สำเร็จ ปัจจัยด้านการบริหารงาน โดยอัตรากำลังของสถานีอนามัยที่พัฒนาสําเร็จมีมากกว่าสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สําเร็จ และสถานีอนามัยที่พัฒนาสำเร็จมีกระบวนการบริหารทุกด้าน กว่าสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สำเร็จ และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานีอนามัย ไม่แตกต่างกันระหว่างสถานีอนามัยทีพัฒนาสำเร็จกับสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สําเร็จth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัยth_TH
dc.subjectสถานีอนามัย--ไทย--นครศรีธรรมราชth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาสถานีอนามัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัยth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to study the relation between the personnel, administration and community participation factors and the result of the development of health centers in Nakornsithammarat Province and (2) to compare these factors between successfully developed health centers and unsuccessfully developed bealth centers in Nakornsithammarat Province. Two population groups consisted of 10 successfully developed health centers and unsuccessfully developed bealth centers, according to the evaluation criteria of Nakornsithammarat Province Public Health Club. Twenty unsuccessfully developed health centers were randomized selected. The data were collected from all 70 health workers in the studied health centers by questionnaires and checklist. Percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation coefficient, chi-square, t-test and Mann-Whitney U test were used in statistical analysis. The results of this study were (1) the factors significantly related to the results of health center development at the 0.05 level including the personnel factors in terms of training and visit on the Decade of Health Center Development and the motivation about working condition, the administration factors in terms of all administration process but the community participation factor was not related to the results of the development of health centers; (2) the factors that significantly differed at the 0.05 level between the successfully developed and unsuccessfully developed health centers including the personnel factor of health centers that the health workers used to have training and visit on the Decade of Health Center Development more success develop than those of who had no training and visit and the health workers of the successfully developed health centers had motivation about working condition more than those of the unsuccessfully developed health centers, the administrative factor of the manpower of the successfully developed health than of the unsuccessfully developed health centers and the successfully developed health centers had more all administration process than the unsuccessfully developed health centers and the community participation of the successfully developed and unsuccessfully developed health centers were similaren_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77210.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons